วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฟัวกราส์ (ตับห่าน)

ฟัวกราส์ (ตับห่าน)
Foie gras [ฟัว-กรา]ฟัวกราส์ (ฝรั่งเศส: Foie gras หรือ fat liver) คือตับห่านหรือเป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนเกิน ฟัวกราส์ได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา และเป็นหนึ่งในอาหารฝรั่งเศสที่ทั่วโลกรู้จักมากที่สุดนอกเหนือจาก ไข่ปลาคาเวียร์ฟัวกราส์เป็นอาหารราคาแพง ราคาเริ่มต้นที่ เจ็ดสิบยูโรต่อกิโล ไปเรื่อย ๆ เคยเห็นสูงสุดที่ร้อยห้าสิบยูโร แต่คงมีสูงกว่านี้ แต่ยังแพงน้อยกว่าไข่ปลาคาเวียร์ รสชาติก็คงตามราคา กินตามงานเลี้ยง และร้านอาหารที่มีในเมนู ลักษณะฟัวกราส์ที่ดี เนื้อตับจะแน่น เนื้อละเอียด นุ่มลิ้นไม่ต้องเคี้ยว ใช้ลิ้นดันให้ละลายในปากได้การที่จะทำฟัวกราส์สักชิ้นนั้นส่วนใหญ่มักใช้เป็ด Moulard ขุน และเมืองที่ขึ้นชื่อทำตับห่านมากที่สุดคือเมือง Strassburg เนื่องจากเมืองนั้นเป็นผู้ผลิตหลักของผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนี้ฟัวกราส์เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงมาก เป็นที่รู้จักกันดีในรสชาติละเอียดอ่อนบวกกับฝีมือการทำอาหารฝรั่งเศสทำให้ รสชาติของมันไม่สามารถบรรยายด้วยคำพูด ทำให้ตับห่านฟัวกราส์ที่ออกมาวางขายแต่ละครั้งมักขายหมดไปอย่างรวดเร็ว แต่กระนั้นฟัวกราส์เป็นอาหารฟุ่มเฟือย ขนาดในฝรั่งเศสจะบริโภคฟัวกราส์ในโอกาสพิเศษเท่านั้นเช่นวัน คริสต์มาสหรือเวลาเย็นของปีใหม่

































































































วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

“สูตรแห่งชีวิตประจำวัน”

สูตรที่ว่านี้มีง่าย ๆ อย่างนี้
๑. ดื่มน้ำให้มาก

๒. กินอาหารเช้าเหมือนราชา, รับประทานอาหารเที่ยงเหมือนเจ้าชายและเมื่อถึงอาหารเย็น, ให้วาดภาพว่าตัวเองเป็นแค่ขอทาน (แปลว่ากินมือหนักที่สุดตอนเช้า, และกลาง ๆ ตอนเที่ยงและตกเย็นแล้ว, ทำตัวเป็นยาจก, ไม่มีอะไรจะกิน...สุขภาพจะเป็นอย่างเทวดาทีเดียวเชียวแห??ะ)

๓. กินอาหารที่โตบนต้นและบนดิน, พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ผลิตจากโรงงาน

๔. ใช้ชีวิตบนหลักการ 3 E...นั่นคือ energy หรือพลังงาน, enthusiasm หรือกระตือตือร้น และ empathy คือเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก ๆ

๕. หาเวลาทำสมาธิหรือสวดมนต์เสมอ

๖. เล่นเกมสนุก ๆ เสียบ้าง, อย่าเครียดกันนักเลย

๗. อ่านหนังสือให้มากขึ้น...ตั้งเป้าว่าปีนี้จะอ่านมากกว่าปีที่ผ่านมา

๘. นั่งเงียบ ๆ อยู่กับตัวเองสักวันละ 10 นาทีให้ได้

๙. นอนวันละ 7 ชั่วโมง

๑๐.เดินสักวันละ 10 ถึง 30 นาที, แล้วแต่จะสะดวก, ไม่ต้องเครียดกับมัน, วันไหนไม่ได้เดิน, ก็อย่าหงุดหงิดกับมัน

๑๑.ระหว่างเดิน, อย่าลืมยิ้ม นั่นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพกายและใจที่ผสมปนเปกันได้เสมอ, หากทำเป็นกิจวัตร, ชีวิตก็จะแจ่มใส, แต่อย่าทำให้ตัวเองเครียดด้วยการรู้สึกผิดถ้าหากวันไหนทำไม่ได้ตามที่วางกำหนดเวลาของตนเอาไว้

วันนี้ทำไม่ได้, พรุ่งนี้ทำก็ได้

แต่การไม่เอาจริงเอาจังกับตัวเองเกินไปไม่ได้หมายถึงการผัดวันประกันพรุ่ง, ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

สูตรเกี่ยวกับบุคลิกของตัวเองที่ควรไปจะคู่กับสูตรสุขภาพมีอย่างนี้

๑. อย่าเปรียบเทียบชีวิตของตัวเองกับคนอื่น คุณไม่รู้หรอกว่าคนที่คุณอิจฉานั้นเขามีความทุกข์ยิ่งกว่าคุณอย่างไรบ้าง

๒. อย่าคิดทางลบเกี่ยวกับเรื่องที่คุณควบคุมหรือกำหนดไม่ได้ แทนที่จะมองโลกในแง่ร้าย, ก็ทุ่มเทกำลังและพลังงานให้กับความคิดทางบวก ณ ปัจจุบันเสีย

๓. อย่าทำอะไรเกินกว่าที่ตัวเองทำได้...รู้ว่าขีดจำกัดของตัวเองอยู่ที่ไหน

๔. อย่าเอาจริงเอาจังกับตัวเองนัก เพราะคนอื่นเขาไม่ได้ซีเรียสกับคุณเท่าไหร่หรอก

๕. อย่าเสียเวลาและพลังงานอันมีค่าของคุณกับเรื่องหยุมหยิมหรือเรื่องซุบซิบ....นอกเสียจากว่ามันจะทำให้คุณผ่อนคลายได้อย่างจริงจัง

๖. จงฝันตอนตื่นมากกว่าตอนหลับ

๗. ความรู้สึกอิจฉาริษยาเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า ๆ ปลี้ ๆ...คิดให้ดีก็จะรู้ว่าคุณมีทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องมีแล้ว

๘. ลืมเรื่องขัดแย้งในอดีตเสีย และอย่าได้เตือนสามีหรือภรรยาคุณเกี่ยวกับความผิดพลาดในอดีตของอีกฝ่ายหนึ่งเลย เพราะมันจะทำลายความสุขปัจจุบันของคุณ

๙. ชีวิตนี้สั้นเกินกว่าที่เราจะไปโกรธเกลียดใคร...จงอย่าเกลียดคนอื่น

๑๐.ประกาศสงบศึกกับอดีตให้สิ้น, จะได้ไม่ทำลายปัจจุบันของคุณ

๑๑.ไม่มีใครกำหนดความสุขของคุณได้นอกจากคุณเอง

๑๒.จงเข้าใจเสียว่าชีวิตก็คือโรงเรียน คุณมาเพื่อเรียนรู้ และปัญหาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักสูตรซึ่งมาแล้วก็หายไป...เหมือนโจทย์วิชาพีชคณิต...แต่สิ่งที่คุณเรียนรู้นั้นอยู่กับคุณตลอดชีวิต

๑๓. จงยิ้มและหัวเราะมากขึ้น

๑๔. คุณไม่จำเป็นต้องชนะทุกครั้งที่ถกแถลงกับคนอื่นหรอก...บางครั้งก็ยอมรับว่าเราเห็นแตกต่างกันได้...

แต่อย่างไรแล้ว เราควรจะมีทัศนคติอย่างไรต่อชุมชนและคนรอบข้างเราล่ะ?

๑. อย่าลืมโทรฯหาครอบครัวบ่อย ๆ

๒. จงหาอะไรดี ๆ ให้คนอื่นทุกวัน

๓. จงให้อภัยทุกคนสำหรับทุกอย่าง

๔. จงหาเวลาอยู่กับคนอายุเกิน 70 และต่ำกว่า 6 ขวบ

๕. พยายามทำให้อย่างน้อย 3 คนยิ้มได้ทุกวัน

๖. คนอื่นเขาคิดอย่างไรกับคุณไม่ใช่เรื่องของคุณสัก หน่อย

๗. งานของคุณไม่ดูแลคุณตอนคุณป่วยหรอก แต่ครอบครัวและเพื่อนคุณต่างหากเล่าที่จะดูแลคุณในยามคุณมีปัญหาสุขภาพ

ดังนั้น, อย่าได้ห่างเหินกับคนใกล้ชิดเป็นอันขาด และถ้าหากสามารถดำรงชีวิตให้มีความหมายได้, ก็ควรจะทำดังต่อไปนี้

๑. ทำสิ่งที่ควรทำ

๒. อะไรที่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่สวย, ไม่น่ารื่นรมย์, จงทิ้ง ไปเสีย...เก็บไว้ทำไม?

๓. เวลาและพระเจ้าย่อมรักษาแผลทุกอย่างได้

๔. ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือเลวปานใด, เดี๋ยวมันก็เปลี่ยน

๕. ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรในตอนเช้าของทุกวัน, จงลุก จากเตียง, แต่งตัวและปรากฎตัวต่อหน้าคนที่เราร่วมงาน ด้วย...get up, dress up and show up.

๖. สิ่งที่ดีที่สุดยังมาไม่ถึง

๗. ถ้าคุณยังลุกขึ้นตอนเช้าได้, อย่าลืมขอบคุณพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุณนับถือเสียด้วย

๘. เชื่อเถอะว่าส่วนลึก ๆ ในใจของคุณนั้นมีความสุข เสมอ...ดังนั้น, ส่วนนอกของคุณทุกข์โศกไปทำไมเล่า?


รักกันนะเพื่อน ๆ จะจบมอหกแร้ว ว คิดถึง ๆ

นิสัย 10 อย่าง ที่ทำให้สมองพัง

1. ไม่ทานอาหารเช้า หลายคนคิดว่าไม่ทานอาหารเช้า แล้วจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่นี้จะเป็นสาเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้สมองเสื่อม

2. กินอาหารมากเกินไป การกินมากเกินไปจะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นสาเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุให้เป็นโรคสมองฝ่อและเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป การกินของหวานมาก จะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหาร และขัดขวางการพัฒนาองสมอง

5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกายการสูดเอาอากาศที่เป็นมลภาวะเข้าไป จะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพ ของสมองลดลง

6. การอดนอน การนอนหลับจะทำให้สมองได้พักผ่อนการอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง การนอนคลุมโปง จะเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้นและลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะที่กำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานขอลสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9.ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมองการขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะทางการพูดจะเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมอง
[21/07/2553]

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แฝดสยาม อิน-จัน

อิน-จัน และลูก ๆ ของทั้งคู่
อิน (พี่-ซ้ายมือ) จัน (น้อง-ขวามือ)

อิน-จัน เป็นชื่อของฝาแฝดสยาม ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเป็นที่มาของคำว่า "แฝดสยาม" ฝาแฝดอิน-จัน เป็นฝาแฝดที่มีตัวติดกันทางส่วนหน้าอก (โดยบันทึกของชาวตะวันตกบอกว่า เนื้อที่เชื่อมกันระหว่างอกนี้สามารถยืดได้จนทั้งคู่สามารถหันหลังชนกันได้) เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ในครอบครัว คนไทยเชื้อสายจีน ที่ จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีบิดาเป็นชาว จีนอพยพ แต่ครั้งรัชกาลที่ 1 ชื่อ นายที มารดาเป็นคนไทยชื่อ นางนาก (บันทึกของชาวตะวันตกเรียกว่า นก (Nok)) ซึ่งฝาแฝดคู่นี้สามารถเติบโตและใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ แตกต่างไปจากแฝดติดกันคู่อื่น ๆ ที่มักเสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่นาน



ตามกฎหมายในเวลานั้น ทั้งคู่ต้องถูก ประหารชีวิต เนื่องจากความเชื่อที่ว่าเป็นตัว กาลกิณี แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็หาได้มีเหตุการณ์ใด ๆ ตามความเชื่อไม่ โทษนั้นจึงได้รับการยกเลิก



เมื่อทั้งคู่อายุได้แค่ 2 ขวบ บิดาก็เสียชีวิตลงด้วย อหิวาตกโรค ภาระจึงตกอยู่ที่มารดาแต่เพียงผู้เดียว แฝดทั้งคู่จึงช่วยเหลือมารดาเท่าที่เด็กในวัยเดียวกันจะทำได้ เช่น จับปลา ขายน้ำมันมะพร้าว และทำไข่เค็มขาย จนในปี พ.ศ. 2367 ความพิเศษของเด็กทั้งคู่ทราบไปถึงพระกรรณของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นางนากและอิน-จันเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แล้วในปี พ.ศ. 2370 ก็มีพระบรมราชานุญาตให้อิน-จันได้เดินทางร่วมไปกับคณะทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศโคชินไชน่า (เวียดนามในปัจจุบัน)





ในปี พ.ศ. 2367 นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ พ่อค้าชาวอังกฤษ หรือที่คนไทยสมัยนั้นเรียกว่า "นายหันแตร" ได้นั่งเรือผ่าน แม่น้ำแม่กลอง และได้พบแฝดคู่นี้กำลังว่ายน้ำเล่นอยู่ ด้วยความประหลาดและน่าสนใจ นายฮันเตอร์จึงคิดที่จะนำฝาแฝดคู่นี้ไปแสดงโชว์ตัวที่ สหรัฐอเมริกา จึงเข้าทำความสนิทสนมกับครอบครัวของฝาแฝดอยู่นานนับปี จนพ่อแม่ของทั้งคู่ไว้วางใจ ในที่สุดนายอาเบล คอฟฟิน กัปตันเรือสินค้า เดอะ ชาเคม (The Sachem) ซึ่งขณะนั้นได้เข้ามาทำการค้าในประเทศไทย ก็เป็นผู้นำตัวคู่แฝดออกเดินทางจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2372 ขณะนั้นอิน-จัน อายุได้ 18 ปี โดยใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 138 วัน จึงถึงเมือง บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ และที่นี่เองที่คู่แฝดได้ทำการเปิดตัว ก่อนจะออกเดินทางแสดงทั่วอเมริกาและยุโรปอีกร่วม 10 ปี (เอกสารบางฉบับบอกว่า ไม่ได้เริ่มที่บอสตัน แต่ไปตั้งหลักที่รัฐแคลิฟอร์เนีย) โดยสัญญาที่ทำไว้กับนายฮันเตอร์และนายคอฟฟินสิ้นสุดลงเมื่อทั้งคู่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยในช่วง 2 ปีแรก ทั้งคู่ก็ได้รับส่วนแบ่งค่าตอบแทน แต่ก็มีบางครั้งก็ถูกเอาเปรียบด้วย เมื่อเป็นอิสระทั้งคู่ก็เปิดการแสดงเอง และได้แสดงไปทั่วสหรัฐอเมริกา





จนเมื่ออายุได้ 28 ปี ใน พ.ศ. 2382 ทั้งคู่ก็ได้ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านแทรปฮิลล์ (Traphill) เขตชานเมืองวิลส์โบโร (Wilkesboro) เคาน์ตีวิลส์ ใน รัฐนอร์ทแคโรไลนา พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน โดยมีชื่อว่า เอ็ง-ชาง บังเกอร์ (Eng and Chang Bunker) พร้อมกับได้แต่งงานกับหญิงชาวอเมริกัน และมีลูกด้วยกันหลายคน ซึ่งระหว่างที่ทั้งคู่ใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น มีความพยายามหลายครั้งจากหลายบุคคลที่จะทำการผ่าตัดแยกร่างทั้งคู่ออกจากกัน แต่ท้ายที่สุดก็มิได้มีการดำเนินการจริง ๆ
จากบันทึกที่ได้บันทึกไว้ ระบุว่า จัน (คนน้อง) เป็นคนที่มีอารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่น และชอบดื่มสุราจนเมามาย ขณะที่ อิน (ผู้พี่) กลับมีนิสัยตรงกันข้าม คือ ใจเย็น สุขุมกว่า และไม่ทานเหล้า อีกทั้งทั้งคู่เคยทะเลาะวิวาทจนถึงขั้นชกต่อยกันเองมาแล้วด้วย



จากการที่จันผู้น้องนิยมดื่มเหล้าจนเมามายบ่อย ๆ ทำให้เป็นโรคหลายโรค จนในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2417 จันก็เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวาย จากนั้นอีกราว 2 ชั่วโมงถัดมา อินก็ได้เสียชีวิตตามไปด้วย ซึ่งจากการชันสูตรและลงความเห็นของแพทย์สมัยใหม่ ระบุว่า อินต้องสูญเสียเม็ดเลือดแดงให้แก่จันที่เสียชีวิตไปแล้ว ผ่านทางเนื้อที่เชื่อมกันที่อก ทั้งคู่เสียชีวิตขณะที่มีอายุได้ 63 ปี
อนุสรณ์
ส่วนตับที่เชื่อมติดกันได้มีการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Mütter ในเมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ส่วนของใช้ส่วนตัวของทั้งคู่ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา
สารคดี
ในปี พ.ศ. 2534 บริษัทกันตนาได้จัดทำรายการสารคดีของ อิน-จัน ขึ้น ในชื่อ "แฝดสยาม" (Siamese twins) จำนวน 26 ตอน ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง 7 สี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 18.30-19.00 น. โดยมี ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก เป็นพิธีกร รศ.ธงทอง จันทรางศุ, นัฏฐา ลอยด์ และ ดวงดาว จารุจินดา เป็นผู้ค้นหาร่องรอย โดยสารคดีชุดนี้เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของทั้งคู่ ตั้งแต่เด็กจนถึงเสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้ที่รับบทอิน-จัน นี้เป็นฝาแฝดที่มีอาชีพมัคคุเทศก์ จึงไม่มีปัญหาในการท่องบทภาษาอังกฤษ
และในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการนำสารคดีชุดนี้มาฉายอีกครั้ง ทาง มิราเคิล ในเครือ ไลฟ์ ทีวี ทุกวันอังคารถึงวันศุกร์ เวลา 16.00-16.30 น
สามารถอ่านรายละเอียดลึกลงไปได้อีกที่เว๊บนี้จ้าขอขอบค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Gaulois (peuples)

Le terme de Gaulois désigne les populations protohistoriques de langue celtique qui résidaient en Gaule, (Gallia en latin), c'est-à-dire approximativement sur les territoires actuels de la France, de la Belgique, de l'Allemagne (rive gauche du Rhin), de la Suisse et de l'Italie du Nord, probablement à partir de l'âge du bronze (IIe millénaire av. J.-C.).
Les Gaulois étaient divisés en de nombreux peuples qui se comprenaient entre eux, qui pensaient descendre tous de la même souche et qui en connaissaient la généalogie. À ces liens de filiation, réels ou mythiques, qui leur créaient des obligations de solidarité, s'ajoutaient des alliances qui mettaient certains d'entre eux dans la clientèle d'un autre pour former des fédérations comme celles des Arvernes et des Éduens. Chacun de ces peuples était divisé en "civitas" identifiées par un chef-lieu et un territoire appelé en latin "pagus", lui-même subdivisé en "vicus" correspondant à peu près à nos cantons.
Les civilisations gauloises sont rattachées en archéologie, pour l'essentiel, à la civilisation celtique de La Tène (du nom d'un site découvert au bord du lac de Neuchâtel, en Suisse). La civilisation de la Tène s'épanouit sur le continent au second âge du fer et disparut en Irlande durant le haut Moyen Âge.

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10 คณะที่ตกสัมภาษณ์มากที่สุด ของรับตรง มธ.

อันดับ 10 คณะรัฐศาสตร์ ยอดฮิตของรั้วแม่โดมต้องคณะนี้เลย คนที่มาสัมภาษณ์คณะนี้ต้องแม่นการเมืองพอสมควร โดยรับตรงปีก่อนเข้ารอบมา 170 คน แต่สามารถชนะใจกรรมการไปได้เพียง 161 คนเท่านั้น สรุปถูกคัดออกไป 9 คน

อันดับ 9 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ถูกขนานนามว่าเป็นคณะที่เต็มไปด้วยหนุ่มใจดี สาวใจบุญ แต่ดูเหมือนอาจารย์สอบสัมภาษณ์คณะนี้จะไม่ใจดีเท่าไหร่ เพราะรับตรงปีที่ผ่านมา คัดออกรอบสัมภาษณ์ไปถึง 23 คนจาก 146 คน เหลือ 123 คนเท่านั้น

อันดับ 8 คณะศิลปกรรมศาสตร์ เด่นสุดๆ เรื่องการละคอน และออกแบบ ที่สำคัญน้องๆ ที่มาสอบสัมภาษณ์คณะนี้แฟ้มผลงานต้องเด็ดสะระตี่มากๆ ด้วย ไม่งั้นอาจไม่ได้ไปต่อ ดูจากปีที่แล้วที่ถูกตัดคัดออกไปถึง 25 คน กรี๊ดๆๆ
อันดับ 7 คณะนิติศาสตร์ เรียกได้ว่าเป็นคณะขั้นเทพที่หลายคนขนาดนามว่าสอบสัมภาษณ์โหดสุดๆ พูดต้องรู้เรื่อง เหตุการณ์บ้านเมืองต้องรู้ ปีที่แล้วผ่านข้อเขียนมา 371 คน แต่ได้ไปต่อเพียง 337 คนเท่านั้น หรือมีผู้ตกสัมภาษณ์ไป 34 คนนั้นเอง

อันดับ 6 คณะสาธารณสุขศาสตร์ น้องๆ สายวิทย์ที่อยากเรียนคณะนี้เตรียมหนาวได้เลย เพราะถึงแม้คณะนี้จะไม่มีวิชาเอกในตอนรับ แต่ก็คัดออกมากที่สุดเป็นอันดับ 6 โดยปีที่แล้วมีคนเข้าไปสอบสัมภาษณ์ 122 คน แต่ผ่านแค่ 69 คนเท่านั้น !!

อันดับ 5 คณะสหเวชศาสตร์ มาแรงตีคู่มาพร้อมกับคณะอันดับก่อนหน้าทุกปี แต่ปีนี้คณะสหเวชศาสตร์ขอมามาดโหดกว่า ปรับตกเด็กที่มาสอบสัมภาษณ์ไปถึง 67 คน จากทั้งหมด 107 คน งานนี้สาขากายภาพบำบัดมาวินถูกปรับตกเยอะที่สุด

อันดับ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี อกอีแป้นจะแตกที่ได้ยินชื่อคณะนี้ เพราะเป็นคณะที่หลายถวายหัวเพื่อแลกกับการเข้าไปเรียน สำหรับคณะนี้มีรุ่นพี่หลายคนแอบบอกมาว่า กรรมการสัมภาษณ์บางปีมีตั้ง 5 คน มิน่าล่ะปีที่แล้วมีเด็กตกสัมภาษณ์คณะนี้ไปถึง 69 คน โอ้ๆ จะเป็นลม - -"

อันดับ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง เด็กแอดมิชชั่น 54 ที่จะไปสอบสัมภาษณ์รับตรงคณะนี้ เตรียมแฟ้มผลงานใหญ่ไปได้เลย เคยวาดอะไร ออกแบบสิ่งไหน ขนไปให้หมด เพราะแล้วกรรมการท่าจะโหดพอสมควร ถึงปรับตกสัมภาษณ์ไปถึง94 คน จ๊ากๆๆ

อันดับ 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะนี้ดาวสวย เดือนหล่อทุกปี แต่อาจารย์ประจำคณะก็แอบเชือดนิ่มๆ นะเนี่ย เพราะปีที่แล้วปรับตกสัมภาษณ์ไปสูงถึง 128 คนจาก 250 คน ซึ่งสาเหตุที่ยอดสูงแบบนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากเป็นคณะที่มีสาขาเยอะแยกย่อย ซึ่งสาขาที่มาวินตกเยอะที่สุดคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

อันดับ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ อยากรู้จังว่าคณะนี้กรรมการสอบสัมภาษณ์คณะนี้ถามอะไรบ้างนะ ปีที่แล้วถึงตกเหวสอบสัมภาษณ์ไปถึง 139 คน (โอ้มายก๊อต) และนับเป็นคณะที่มียอดตกสูงที่สุดในการรับตรงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเท่าที่ไปแอบสืบจากรุ่นพี่ๆ คณะนี้มาก็ล้วนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “แฟ้มโดน พูดดี บุคลิกเด่น” ถึงจะรอดคร๊าบ

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส

รับเลือกตั้ง 6 เมษายน พ.ศ. 2550
พรรคการเมือง UDR (2517)
UMP (2545)
สาธารณรัฐ สาธารณรัฐที่ 5
รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรี ฟรองซัวส์ ฟียง
สมัยก่อนหน้า ฌาคส์ ชีรัค
นิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) [nikɔla saʁkɔzi] (ข้อมูล) (28 มกราคม พ.ศ. 2498 — ) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ ผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา คนปัจจุบัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม กระทรวงงบประมาณและนายกเทศมนตรีเนยยี-ซูร์-แซน
เขาเป็นที่รู้จักดีจากทัศนคติในด้านกฎหมายและคำสั่งของเขา รวมถึงความต้องการให้ เศรษฐกิจ ของประเทศฝรั่งเศส กลับคืนสู่สภาพเดิม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาและยังได้กระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศอื่นๆ อีกด้วย ชื่อเล่นที่ผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่างเรียกแทนตัวเขาคือ "ซาร์โก" (Sarko)


ภูมิหลังครอบครัว
ประวัติตระกูล
นิโกลาส์ ซาร์โกซี เป็นลูกชายของ ปาล ชาร์เคอซี เดอ นาดญ์-โบทชา (Pál Sárközy de Nagy-Bócsa) ชาวฮังการี ที่อพยพมา กับ อองเดร มัลละห์ (Andrée Mallah) หญิง ชาวฝรั่งเศส ชาว นิกายคาทอลิก เชื้อสายกรีก-เซพาร์ดิกยิว ตาของเขาเป็น ชาวกรีก ชื่อ 'เบนิโก มัลละห์' (ชื่อเดิม อารอน มัลละห์) ลูกชายของมอร์เดไค มัลละห์ (Mordechai Mallah) ซึ่งเบนิโกเป็นอายุรแพทย์จากเทสซาโลนิกิ ที่อพยพมาประกอบอาชีพที่ ประเทศฝรั่งเศส


อยู่ในวาระ ฟรองซัวส์ ฟียงตั้งแต่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

สถานที่พัก Hôtel Matignon

ผู้แต่งตั้ง นิโกลาส์ ซาร์โกซี
ก่อตั้ง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501

เว็บไซต์ http://www.premier-ministre.gouv.fr/



นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (Premier ministre français) เป็นตำแหน่งหัวหน้า รัฐบาล และ คณะรัฐมนตรี ของประเทศฝรั่งเศส ส่วนประมุขแห่งรัฐของ ประเทศฝรั่งเศส คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศสคือ ฟรองซัวส์ ฟียง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550





การตัดสินใจหรือกฤษฎีกาของนายกรัฐมนตรี เสมือนกับการตัดสินใจทั้งหมดของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่สอดส่องดูแลระบบสภาในหน่วยการบริหารทั่วประเทศ (Conseil d'État) บางครั้งนายกรัฐมนตรีได้รับคำปรึกษาจากสภาก่อนจะประกาศใช้กฤษฎีกา





เป็นที่รู้กันว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านต้องการปกป้องนโยบายและโครงการในกระทรวงของตน แต่ก็ยังติดอยู่ที่งบประมาณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีนี้เองเป็นคนชี้ขาดในเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งประธานาธิบดีจะมีนาจและอิทธิพลเหนือกว่าก็ตาม
เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลนโยบายของรัฐบาล เมื่อเกิดความผิดพลาดและล้มเหลวก็จะกลายเป็นคนที่ถูกประณามและตำหนิไปโดยปริยาย ผลที่ตามมาก็คือความนิยมที่มีสูงในช่วงแรกและลดฮวบลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนคิดว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการส่งเสริมความสำเร็จของประธานาธิบดี และยังเป็นที่โต้เถียงอย่างมากว่าเป็นตำแหน่งที่อันตรายเพราะความเป็นไปได้ของการลดความนิยม


การเสนอชื่อ
นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และเนื่องจากรัฐสภาสามารถลงมติไม่ไว้วางใจได้ ผลที่ตามมาคือการกดดันให้รัฐบาลลาออก ทำให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนมากของสภาแห่งชาติอีกด้วย

โอเต็ล มาติญง
เมื่อประธานาธิบดีและเสียงส่วนมากของสภาแห่งชาติอยู่ตรงข้ามกันในทางการเมืองจะเรียกว่า การบริหารร่วมกัน (Cohabitation) ซึ่งหมายความว่าประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันหรือประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมาจากต่างพรรคและต่างขั้ว นายกรัฐมนตรียังเป็นคนเสนอชื่อรัฐมนตรีคนอื่นๆ ในคณะรัฐมนตรีให้แก่ประธานาธิบดีด้วย




สถานที่พักอย่างเป็นทางการ
โอเต็ล มาติญง (Hôtel Matignon) ตั้งอยู่บนเขต 7 ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส





นายกรัฐมนตรีผู้หญิงคนเดียวในประเทศฝรั่งเศส : เอดิต เครซซง





นายกรัฐมนตรีสองสมัย : ฌากส์ ชีรัก (คนที่ 6 และ 10 ในสมัย สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5)





นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลที่มีการการบริหารร่วมกัน (Cohabitation) : ฌากส์ ชีรัก, เอดูอาร์ด บัลลาดูร์, ลีโอเนล โฌส์แปง
นายกรัฐมนตรีที่ไปเป็นรัฐมนตรีในภายหลัง :
มิแชล เดอเบร (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (รัฐบาลจอร์จ ปอมปิดู 3 และ 5), รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (รัฐบาลจอร์จ ปอมปิดู 5 และโมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์), รัฐมนตรีแห่งรัฐ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลฌากส์ ชาบอง-เดลมาส์และปีแอร์ เมสแมร์ 1))
โลรองต์ ฟาบิอูส์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม (รัฐบาลลีโอเนล โฌส์แปง)
อแลง ฌูป์เป (รัฐมนตรีแห่งรัฐ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม (รัฐบาลฟรองซัวส์ ฟียง 1)
ประธานสภาแห่งชาติฝรั่งเศส (Président de l'Assemblée Nationale)
ฌากส์ ชาบอง-เดลมาส์ : พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2512, พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531
โลรองต์ ฟาบิอูส์ : พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543
เลือกตั้งเข้าไปในราชบัณฑิตยสถานฝรั่งเศส (l'Académie Française)
มิแชล เดอเบร : 24 มีนาคม พ.ศ. 2531
ปีแอร์ เมสแมร์ : 25 มีนาคม พ.ศ. 2542
คณะกรรมาธิการยุโรป (Commissaire Européen)
เอดิต เครซซง : พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542
อายุเมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุด : โลรองต์ ฟาบิอูส์ (37 ปี), ฌากส์ ชีรัก (41 ปี), มิแชล เดอเบร (47 ปี), อแลง ฌูป์เป (49 ปี)
นายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุด: ปีแอร์ เบเรโกวัว (66 ปี), เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ (64 ปี), โมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์ (61 ปี)

ชาร์ลส์-โมริส เดอ ตาลลีร็องด์-เปรีโกร์ด นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศฝรั่งเศส
ระยะเวลาในโอเต็ล มาติญง
ระยะเวลาที่อยู่ใน โอเต็ล มาติญง (Hôtel Matignon) นานที่สุด :
จอร์จ ปอมปิดู : 2,279 วัน หรือ 6 ปี 2 เดือน 26 วัน
ลีโอเนล โฌส์แปง : 1,799 วัน หรือ 4 ปี 11 เดือน 4 วัน
เรย์มงด์ บาร์ : 1,727 วัน หรือ 4 ปี 8 เดือน 23 วัน
ฌากส์ ชีรัก : 1,602 วัน (สองสมัย 820 วัน และ 782 วัน) หรือ 4 ปี 4 เดือน 19 วัน
ระยะเวลาที่อยู่ในโอเต็ล มาติญง (Hôtel Matignon) สั้นที่สุด :
เอดิต เครซซง : 321 วัน หรือ 10 เดือน 16 วัน
โมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์ : 341 วัน หรือ 11 เดือน 6 วัน
ปีแอร์ เบเรโกวัว : 360 วัน หรือ 11 เดือน 26 วัน









จำนวนนายกรัฐมนตรีต่อประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ฟรองซัวส์ มิแตรรองด์ : นายกรัฐมนตรี 7 คน (14 ปี)
ฌากส์ ชีรัก : นายกรัฐมนตรี 4 คน (12 ปี)
ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ : นายกรัฐมนตรี 3 คน (10 ปี 4 เดือน)
วาเลรี ยิสการ์ด เดส์แตง : นายกรัฐมนตรี 2 คน (7 ปี)
จอร์จ ปอมปิดู : นายกรัฐมนตรี 2 คน (5 ปี)
นิโกลาส์ ซาร์โกซี : นายกรัฐมนตรี 1 คน (ยังคงดำรงตำแหน่ง)
นายกรัฐมนตรีที่เคยลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี













การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2512
จอร์จ ปอมปิดู ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส 1 ปีหลังจากการออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี





มิแชล โรการ์ด ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 4 ในการเลือกตั้งรอบแรก - 19 ปีก่อนการเป็นนายกรัฐมนตรี





การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2517
ฌากส์ ชาบอง-เดลมาส์ ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก





การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2524
ฌากส์ ชีรัก ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก
มิแชล เดอเบร ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 8 ในการเลือกตั้งรอบแรก
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2531
ฌากส์ ชีรัก ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้งรอบแรกและรอบสอง ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี





เรมงด์ บาร์ ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก





การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2538
ฌากส์ ชีรัก ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้งรอบแรกและชนะในการเลือกตั้งรอบสอง เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส - 19 และ 7 ปี หลังจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลีโอเนล โฌส์แปง ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 1 ในการเลือกตั้งรอบแรกและลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้งรอบสอง - 2 ปีก่อนการเป็นนายกรัฐมนตรี





เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2545





ฌากส์ ชีรัก ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ลีโอเนล โฌส์แปง ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550