1.จี้เส้น
ความหมาย พูดหรือทำให้ผู้ดูผู้ฟังขบขันหัวเราะ เช่น ตลกจี้เส้น เป็นสำนวนใหม่พวกเดียวกันนี้ยังมี “เส้นตื้น” คือคนที่หัวเราะง่ายก็ว่าคนนั้นเส้นตื้น
2. ใจดีสู้เสือ
ความหมาย ทำใจให้เป็นปกติเผชิญกับสิ่งที่น่าหลัว
ตัวอย่าง
“เราก็หมายมาดว่าชาติเชื้อ ถึงปะเสือก็จะสู้ดูสักหน”
พระอภัยมณี
3. ดากแล้วมิหนำเป็นซ้ำเป็นสองดาก
ความหมาย มีเรื่องลำบากเกิดขึ้นหับตัว แล้วมีเรื่องลำบากเกิดขึ้นอีกซ้ำอีก ทำให้ลำบากมากขึ้น
ความเป็นมา มีนิยายเล่าว่า ยายแก่คนหนึ่ง เป็นโรคดาก วันหนึ่งออกไปส้วม ผีเด็กเห็นเข้าก็ฉวยเอาไปเล่น ยายแก่ดีใจที่หายจากโรคก็มาเล่าให้ยายแก่อีกคนหนึ่งฟัง แล้วก็ไปส้วมนั้น ผีเด็กก็นำดากมาคืนที่เก่า แต่กลับโดนยายคนที่2 ทำให้ยายคนที่2เป็นดากมากขึ้นกว่าเดิม
4. ดาบสองคม
ความหมาย สิ่งที่เราทำลงไปอาจให้ผลทั้งทางดี และทางร้ายได้
ความเป็นมา เปรียบเหมือนกับดาบ ซึ่งถ้ามีคมทั้งสองข้างก็ย่อมเป็นประโยชน์ใช้ฟันได้คล่องแคล่วดี แต่ในขณะที่ใช้คมข้างหนึ่งฟันลง คมอีกด้านหนึ่ง อาจโดนตัวเองเข้าได้ การทำอะไรที่อาจเกิดผลดีและร้ายได้เท่ากัน จึงเรียกว่า เป็นดาบสองคม
5. ดูตาม้าตาเรือ
ความหมาย พูดหรือทำอะไรก็ตาม ให้ระมัดระวังพินิจพิเคราะห์ ว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ข้างหลังบ้าง ไม่ให้ซุ่มซ่าม
ความเป็นมา มาจากการเล่นหมากรุก ซึ่งมีตัวหมากเรียกว่า “ม้า” และ “เรือ” ม้าเดินตามเฉียงทะแยงซึ่งทำให้สังเกตยาก ส่วนเรือเดินตายาวไปได้สุดกระดานเวลาเดินหมากอาจจะเผลอ ไม่ทันสังเกตตาที่ม้าอีกฝ่ายหนึ่งเดิน หรือไม่ทันเห็นเรืออีกฝ่ายหนึ่งที่อยู่ไกล เดินหมากไปถูกตาที่ม้าหรือเรือฝ่ายตรงข้ามสกัดอยู่ ก็ต้องเสียตัวหมากของตนไปให้คุ่แข่ง การดูหมากต้อง “ดูตาม้าตาเรือ” ของฝ่ายตรงข้าม เลยนำสำนวนนี้มาพูดกันเมื่อเวลาจะพูดหรือทำอะไรก็ตาม ให้ระมัดระวังพินิจพิเคราะห์ ว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ข้างหลังบ้าง ไม่ให้ซุ่มซ่าม
6. ตกกระไดพลอยโจน
ความหมาย พลอยประสมทำไปในเรื่องที่ผู้อื่นเป็นต้นเหตุก็ได้ หรือเป็นเรื่องของตนเอง ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นก็ได้
ความเป็นมา เมื่อเห็นว่าจำเป็นต้องทำตามไป สำนวนนี้มีความหมายเป็นสองทาง ทางหนึ่งผู้หนึ่งผู้อื่นเป็นไปก่อนแล้วตัวเองพลอยตามเทียบตามคำในสำนวนก็คือว่า เห็นคนอื่นตกกระไดตนเองก็พลอยโจนตาม อีกทางหนึ่งไม่เกี่ยวกับคนอื่น ตนเองรู้สึกตนว่าถึงเวลาที่ตนเองจะต้องทำโดยที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ก็เลยประสมทำไปเสียเลย เทียบกับคำในสำนวนเทียบกับว่าตนเองตกกระไดแต่ยังมีสติอยู่ ก็รีบโจนไปให้มีท่าทางไม่ปล่อยให้ตกไปอย่างไม่มีท่า
ตัวอย่าง ในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนปลายงามเข้าหาศรีมาลา มีกลอนขุนแผนว่า
“งองามก็หลงงงงวย ไม่ช่วยไปข้างหน้าจะว้าวุ่น
ตกกระไดพลอยโผนโจนตามบุญ ทำเป็นหุนหันโกรธเข้าพลอยงาม”
7. ตกหลุม
ความหมาย ใช้พูดเมื่อ หกล้มคว่ำลงไปกับพื้น
ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากการจับกบ ซึ่งรีบตะครุบไม่ทันให้กบกระโดดหนี พลาดท่าพลาดทางก็ล้มคว่ำลงไปกับพื้น ใครคว่ำหน้าลงไปจึงพูดว่า “ตะครุบกบ” บางครั้งก็พูดว่า “จับกบ”
8. บ่อนแตก
ความหมาย ใช้พูดเมื่อ มีคนทำการชุมนุมกันมากๆ หรือการมากินเลี้ยง เกิดเรื่องต้องทำให้หยุดชะงักเลิกไปกลางคัน
ความเป็นมา มาจากการติดบ่อนเล่นการพนัน ซึ่งมีคนมาเล่นกันมาก ขณะการเล่นก็ต้องมีการหยุดชะงักต้องเลิกไปกลางคัน เรียกว่า บ่อนแตก คำนี้เลยกลายมาเป็นสำนวน
9. ปราณีตีเอาเรือ
ความหมาย ช่วยด้วยความปราณี แต่กลับต้องถูกประทุษร้ายตอบ
ตัวอย่าง
“เอออะไรมาเป็นเช่นนี้ ช่วยว่าให้ดีก็มิเอา
มุทะลุดุดันกันเหลือ ปราณีตีเอาเรือเสียอีกเล่า”
สังข์ทอง พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2
10.ปัดขาเก้าอี้
ความหมาย เจตนาหรือแกล้งทำให้ผู้ครองตำแหน่งหรือหน้าที่อันใด ต้องเสียหรือพ้นจากตำแหน่งหน้าที่นั้นไป เก้าอี้ หมายถึง เก้าอี้ที่สำหรับนั่งปฏิบัติงานประจำ ปัดเก้าอี้ คือไม่ได้นั่งปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้อีก แล้ว
ตัวอย่าง
ในหนังสือนิพพานวังหน้า มีพระราชวิจารณ์ของรัชกาลที่ 5 ตอนหนึ่งว่า
“เมื่อรวบรวมความลงก็ไม่ผิดกับชาววังน่าชั้นหลัง ๆ แลไม่ปองร้ายกันถึงจะหักกันลงข้างหนึ่ง เป็นแต่ประมูลอวดดีกันนินทากัน แตะตีนกัน ซึ่งนับว่าเป็นแบบอันไม่ไห้ความเจริญแก่แผ่นดิน”
11. ผงเข้าตาตัวเอง
ความหมาย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเอง หรือเกิดเรื่องอะไรเกี่ยวกับตัวเองแล้วตัวเองไม่สามารถแก้ไขได้
ความเป็นมา คนที่มีความรู้ความคิดดี มีสติ ปัญญาเฉลียวฉลาด ทำอะไรให้ใคร ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่พอมีปัญหาหรือมีเรื่องอะไร เกิดขึ้นกับตัวเอง กลับหมดปัญญาที่จะแก้ไข
11. เผลอเรอกระเชอก้นรั่ว
ความหมาย เลินเล่อ ไม่เอาใจใส่ระวังดูแลให้รอบคอบ
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากนิทานโบราณ ใน นนทุกปกรณัม เรื่องมีว่ามีพรานไปซุ่มช้อนปลากับภรรยา ภรรยานั้นเป็นกาลกิณีกระเดียดกระเชอก้นรั่วตามสามี สามีช้อนได้ปลามาใส่กระเชอ ภรรยาก็ไม่พิจารณา ปลาก็ลอดลงน้ำไป สามีไม่รู่ช้อนได้หลงใส่กระเชอไปเรื่อย ๆ ปลาก็ลอดไปหมดไม่เหลือ ระหว่างนั้นมีภรรยานายสำเภา เป็นหญิงดีมีสิรินั่งอยู่ท้ายเรือ เห็นปลาลอดลงน้ำก็ยิ้ม นายสำเภาเป็นกาลกิณี เห็นนางดูนายพรานแล้วยิ้มเข้าใจว่านางพอใจ พรานก็โกรธ จะให้นางไปเป็นเมียพราน ในที่สุดนายสำเภากับนายพรานก็ตกลงแลกเมียกัน เมียนายพรานมาอยู่กับนายสำเภา ทำให้พรานเจริญขึ้นเป็นเสนาบดีของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาแผ่นดิน นั่นคือใครที่ทำอะไรเผลอเรอเลินเล่อทำอะไรไม่รอบคอบก็พูดกันว่า “เผลอเรอกระเชอก้นรั่ว”
12. แผ่สองสลึง
ความหมาย นอนหงายแผ่ สำนวนนี้มักใช้กับคนที่ลื่น หกล้มลงไปนอนหงายแผ่
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากเงินเหรียญที่ใช้แทงถั่วโปตามโรงบ่อน บ่อนถั่วมีไม้ขอยาวปลายเป็นห่วงกลมสำหรับคล้องเงินที่คนแทง เวลากินก็คล้องเงินลากมา หรือเอาไปจ่ายคนที่แทงถูกก็ได้ เหรียญสลึงกับเหรียญสองสลึงเป็นเหรียญแบบติดเสื่อใช้ไม้ขอคล้องเกี่ยวไม่ติด นายบ่อนจึงทุบเหรียญสลึงกับเหรียญสองสลึงให้พับงอ ที่แบบแผ่ติดตามรูปเดิมไม่ค่อยมี ดังนั้นเมื่อพบสลึงกับเหรียญสองสลึง ให้พับงอสำหรับให้ไม้ขอได้ง่าย สำนวน “แผ่สองสลึง” แล้วเอามาใช้เป็นสำนวนพูด เมื่อใครลื่นล้มลงไปนอนแผ่ ก็พูดกันว่าลงไป แผ่สองสลึง
13. แพแตก
ความหมาย ญาติพี่น้องหรือคนที่เคยอยู่ร่วมกันกระจัดกระจายกันไป เช่นพูดว่าสิ้นผู้ใหญ่เสียคนก็เป็นแพแตก
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากแพไม้ที่มัดรวมกันเป็นแพ เช่นแพไม้สัก แพไม้รวก ฯลฯ หวายหรือเครื่องที่รัดขาด ไม้นั้นก็กระจายเพ่นพ่านไป เรียกว่า แพแตก สำนวนนี้ใช้กับคนที่อยู่ร่วมกันมากๆ
“มึงจึงจ้วงจาบว่าหยาบคาย แสนร้ายเหี้ยมเกรี้ยมไม่เจียมตัว
พลัดพ่อพลัดแม่เป็นแพแตก กลับมาดันแดกเอาเจ้าผัว”
บทละครรามเกียรติ์ของกรมพระราชวังบวร ฯ
14. พูดจนโดนตอ
ความหมาย พูดเรื่องเกี่ยวกับผู้ใดผู้หนึ่งโดยไม่รู้ว่าผู้นั้นอยู่ในที่นั้นด้วย “ตอ” คือตอไม้ที่ตั้งโด่อยู่ในน้ำ หรือพื้นดินเรามักจะเอามาเปรียบกับคนที่ปรากฏอยู่เฉย ๆ เช่นพูดว่า นั่งเป็นหัวหลักหัวตอ
15. ม้าดีดกระโหลก
ความหมาย กิริยาท่าทางผลุบผลับกระโดกกระเดกลุกลน
ความเป็นมา คนที่มีกิริยาท่าทางผลุบผลับกระโดกกระเดกลุกลน มักใช้ว่าผู้หญิงที่ไม่เรียบร้อย จะลุกจะนั่งหรือเดินพรวดพราดเตะนั่นโดดนี่กระทบโน่นไปรอบข้างที่พูดว่า “ดีดกระโหลก” ฟังดูเป็น “ม้าดีดกระลา” แต่ความจริงเปรียบเหมือนกิริยาของม้า คือม้าที่พยศมักจะมีกิริยาที่เรียกว่า ดีด กับ โขก อยู่ด้วยกัน
ตัวอย่าง
“เหมือนม้าดีขี่ขับสำหรับรบ ทั้งดีดขบโขกกัดสะบัดย่าง”
กลอนพระอภัยมณี
16. เรือล่มเมื่อจอด
ความหมาย ทำหรือปฏิบัติอะไร ๆ ผ่านพ้นมาเรียบร้อย พอจะสำเร็จหรือพอเสร็จกลับเสียไม่สำเร็จไปได้
ความเป็นมา เปรียบเหมือนแจวพายเรือมาถึงที่หมาย พอจอด เรือก็ล่ม สำนวนนี้ใช้กับการพูดดีเรื่อยมา พอจะจบก็ลงไม่ได้ “เรือล่มเมื่อจอด” มักจะมีต่อว่า ตาบอดเมื่อแก่
“เรือ เทียบถึงท่าแล้ว และมา
ล่ม ละลายโภคา ชวดใช้
เมื่อหนุ่มเท่าชรา แสวงสิ่ง ใดเฮย
จอด จ่อจวนเจียนได้ สิ่งนั้นศูนย์เสีย”
โครงสุภาษิตเก่า
17. ล่มหัวจมท้าย
ความหมาย ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน ยากมีดีจนด้วยกัน ฯลฯ
ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากเรือ ผัวเมียลงเรือไปค้าขาย ช่วยกนทำมาหากิน การไปเรือมักจะพูดกันว่า ผัวถือท้ายเมียถือหัว หรือผัวแจวท้ายเมียพายหัว เป็นการช่วยกัน เมื่อเรือล่มก็จมไปด้วยกัน จึงพูดกันว่า จมหัวจมท้าย
18. เลือดเข้าตา
ความหมาย มุ ทะลุ ดื้อทำไม่คิดถึงผลได้ผลเสีย
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากการชกมวย หรือการต่อสู้ เมื่อถูกต่อยหรือถูกตี ถูกฟันแทงแถวหน้าผาก หรือคิ้วแตกเป็นแผล เลือดไหลเข้าตา ก็เกิดมานะมุทะลุเข้าสู้อย่างไม่คิดชีวิต เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องมุมานะโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง
ตัวอย่าง เสียพนันมากก็ยิ่งเล่นใหญ่ จึงควรพูดว่า เลือดเข้าตา
19. วัดถนน
ความหมาย หกล้มราบลงไปกับพื้น
ความเป็นมา เมื่อหกล้มราบลงไปกับพื้น แล้วจะใช้พูดล้อคนที่ล้มว่าลงไปวัดถนนว่ากว้างยาวเท่าไหร่
20. วิ่งเป็นไก่ตาแตก
ความหมาย ซุกซน ดั้นด้นไปอย่างงมงาย
ความเป็นมา ซึ่งมาจากการเล่นชนชนไก่ ไก่ที่ถูกคู่ชนแท่งด้วยเดือยจนตาแตกไม่เห็นอะไร มักจะวิ่งหนีซุกซนไปทั้ง ๆ ที่ไม่เห็นทาง
ตัวอย่าง ในพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ถึงเจ้าพระยาธรรมา ฯ แห่งหนึ่งว่า
“ไปด่วนหักโหมเอางาใหญ่ ๆ ดีๆ กลึงเสียถ้าต่อไปมันดีขึ้นจะต้องวิ่งหางาตาแตก”
21. สี่ตีนยังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
ความเป็นมา คำว่า สี่ตีน โบราณหมายถึงช้าง ในเรื่องนางนพมาศว่า “ถึงบุราณท่าว่าคชสารสี่ตีน ยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ล้ม ใครอย่าได้ประมาท คำอันนี้ก็เป็นจริง” เพราะว่าช้างเวลาก้าวเท้าจะก้าวหนักมั่นคงมากกว่าสัตว์อื่น ๆ
ตัวอย่าง
“สี่ตีน คือช้างใหญ่ เยี่ยมเขา
ยังพลาด พลิกแพลงเบา บาทเท้า
นักปราชญ์ อาจองเอา อรรถกล่าว ได้นา
ยังพลั้ง พลาดขาดค้าง อย่าอ้างอวดดี”
โครงสุภาษิตเก่า
22.หัวชนกำแพง
ความหมาย สู้ไม่ถอย สู้จนถึงที่สุด ฯลฯ ไปติดกับกำแพงไปไหนไม่ได้ ก็ยังสู้
ตัวอย่าง บทละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศร์ ฯ
“น้อย ฤแนะ เป็นไรมีล่ะ คงได้ดูดีหรอก เล่นกะมันจนหัวชนกำแพงซีน่ะ”
23. หัวราน้ำ
ความหมาย เมาเต็มที่
ความเป็นมา สมัยก่อนไทยเรามีการคมนาคมทางน้ำเป็นสำคัญใช้เรือ เป็นพาหนะทั้งในธุรกิจติดต่อค้าขาย ตลอดจนการเล่นรื่นเริงต่าง ๆ ในการเล่น
ตัวอย่าง แข่งเรือ คนในเรือมักจะกินเหล้าเมามายกันเต็มที่แรงตัวไม่อยู่ หัวลงไปราอยู่กับพื้นน้ำ จึงเกิดเป็นสำนวนขึ้นมา
24. หัวหกข้นขวิด
ความหมาย ทำอะไรแผลง ๆ ทำอะไรโลดโผน ไม่ได้รักษากิริยามารยาท ทำตามใจชอบ
ตัวอย่าง
“เป็นการกินสำหรับเกียรติยศ จะหยิบฉวยอะไรแต่ละทีง้างมือไม่ค่อยถนัด สู้กินกันตามธรรมดาอย่างบ้านของตัวเองไม่ได้ หัวหกข้นขวิดก็ไม่ต้องเกรงใจใคร”
ละคอนไทยไปอเมริกา
25. โอษฐภัย
ความหมาย พูดไม่ดีจะเป็นภัยกับตัวเอง เป็นภัยที่เกิดจากปาก ส่วนใหญ่มุ่งไปถึงการพูดที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง การดูหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ การพูดเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล