ปลาทู (Indo-Pacific mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger neglectus) หรือ ปลาทูยาว) เป็น ปลา ทะเลที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณ อ่าวไทย เป็นปลาผิวน้ำ รูปร่างป้อมแบน ตาค่อนข้างเล็ก มีเยื่อไขมันอยู่ รอบนัยน์ตา ปากกว้าง ขากรรไกรล่างยาว
ประวัติของปลาทู
ในสมัย รัชกาลที่ 6 ได้จ้างดร. สมิท ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลามาเป็นที่ปรึกษา กรมรักษาสัตว์น้ำ เพื่อสำรวจพันธุ์ปลาต่างๆในประเทศไทย มี หลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระพันธุ์) เป็นผู้ช่วยและวาดภาพปลา ท่านผู้นี้เป็นผู้วาดภาพปลาทูภาพแรกในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2468 ไทยนำเรืออวนตังเกจาก จีน มาใช้ทำให้จับปลาทูได้มาก ปลาทูที่เหลือทำเป็นปลาทูเค็มส่งไปขายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จนในภาษาอินโดนีเซีย เรียกปลาทูเค็มว่า Ikan siam
พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยนำเครื่องมืออวนลากจาก เยอรมันตะวันตก มาใช้และเมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกทำให้การประมงขยายตัวมากขึ้น จนกระทั่งจำนวนปลาทูในอ่าวไทยลดจำนวนลงในที่สุด
ที่อยู่ของปลาทู
แต่ก่อนเชื่อว่าปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทยมาจาก เกาะไหหลำ แต่ปัจจุบันพบว่าปลาทูเกิดในอ่าวไทยเป็นปลาผิวน้ำ รวมกันเป็นฝูงบริเวณใกล้ฝั่ง พบเฉพาะบริเวณอุณหภูมิผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกิน 32.5 % แต่ทนความเค็มต่ำได้ถึง 20.4 % จึงพบในบริเวณน้ำกร่อยได้
ปลาทูวางไข่แบบไข่ลอยน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะลอยน้ำอยู่ได้ ช่วงที่วางไข่คือกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม
การบริโภคปลาทู (น่าจะรู้ อิอิ)
ปลาทู นำมาเป็นอาหารไทยมีจำหน่ายในรูปแบบ ปลาทูสด และปลาทูนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการขายเป็นใส่ภาชนะที่เรียกว่า เข่งปลาทู นิยมนำมาทอด รับประทานคู่กับ น้ำพริกกะปิ หรือ ทำเป็นน้ำพริกปลาทู ส่วนปลาทูสดนิยมนำมาทำเป็นต้มยำปลาทู
เนื้อปลาทูมีสาร โอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก ในเนื้อปลาทู 100 กรัมมีสารโอเมก้า 3 ราว 2-3 กรัม ช่วยลดอัตราการตายจาก โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดตีบ และยังลด โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดความหนืดของ เลือด ลดการอักเสบ ทำให้ความข้นในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อ่านจบแล้วจ้ารู้อย่างนี้รีบกินปลาทูกัน อ่าแต่กินพอดีจะดีที่สุด
^^
ประวัติของปลาทู
ในสมัย รัชกาลที่ 6 ได้จ้างดร. สมิท ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลามาเป็นที่ปรึกษา กรมรักษาสัตว์น้ำ เพื่อสำรวจพันธุ์ปลาต่างๆในประเทศไทย มี หลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระพันธุ์) เป็นผู้ช่วยและวาดภาพปลา ท่านผู้นี้เป็นผู้วาดภาพปลาทูภาพแรกในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2468 ไทยนำเรืออวนตังเกจาก จีน มาใช้ทำให้จับปลาทูได้มาก ปลาทูที่เหลือทำเป็นปลาทูเค็มส่งไปขายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จนในภาษาอินโดนีเซีย เรียกปลาทูเค็มว่า Ikan siam
พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยนำเครื่องมืออวนลากจาก เยอรมันตะวันตก มาใช้และเมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกทำให้การประมงขยายตัวมากขึ้น จนกระทั่งจำนวนปลาทูในอ่าวไทยลดจำนวนลงในที่สุด
ที่อยู่ของปลาทู
แต่ก่อนเชื่อว่าปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทยมาจาก เกาะไหหลำ แต่ปัจจุบันพบว่าปลาทูเกิดในอ่าวไทยเป็นปลาผิวน้ำ รวมกันเป็นฝูงบริเวณใกล้ฝั่ง พบเฉพาะบริเวณอุณหภูมิผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกิน 32.5 % แต่ทนความเค็มต่ำได้ถึง 20.4 % จึงพบในบริเวณน้ำกร่อยได้
ปลาทูวางไข่แบบไข่ลอยน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะลอยน้ำอยู่ได้ ช่วงที่วางไข่คือกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม
การบริโภคปลาทู (น่าจะรู้ อิอิ)
ปลาทู นำมาเป็นอาหารไทยมีจำหน่ายในรูปแบบ ปลาทูสด และปลาทูนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการขายเป็นใส่ภาชนะที่เรียกว่า เข่งปลาทู นิยมนำมาทอด รับประทานคู่กับ น้ำพริกกะปิ หรือ ทำเป็นน้ำพริกปลาทู ส่วนปลาทูสดนิยมนำมาทำเป็นต้มยำปลาทู
เนื้อปลาทูมีสาร โอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก ในเนื้อปลาทู 100 กรัมมีสารโอเมก้า 3 ราว 2-3 กรัม ช่วยลดอัตราการตายจาก โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดตีบ และยังลด โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดความหนืดของ เลือด ลดการอักเสบ ทำให้ความข้นในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อ่านจบแล้วจ้ารู้อย่างนี้รีบกินปลาทูกัน อ่าแต่กินพอดีจะดีที่สุด
^^