คำว่ากาแฟ เป็นคำที่มาจากคำว่า "เกาะหฺวะหฺ" ในภาษาอาหรับ (อาหรับ: قهوة)[10][11] ซึ่งสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากแคว้นคัฟฟาของเอธิโอเปีย ซึ่งมีการเพาะปลูกกาแฟ หรือไม่ก็มาจากคำว่า qahwat al-būnn ซึ่งหมายถึง "ไวน์แห่งถั่ว" ในภาษาอารบิก แล้วเพี้ยนเป็น กาห์เวห์ ในภาษาตุรกี ก่อนที่จะเป็น caffè ในภาษาอิตาเลียน และเป็น คอฟฟี (Coffee) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้นก็เป็นคำว่า กาแฟ ในภาษาไทย
เชื่อกันว่ากาแฟถูกค้นพบครั้งแรกโดยเด็กเลี้ยงแพะชาวอาบิสซีเนีย ที่ชื่อว่า คาลดี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 จากการสังเกตพบว่า แพะดูกระปรี้กระเปร่าขึ้นเมื่อกินเมล็ดกาแฟป่า จากเอธิโอเปีย กาแฟได้แพร่กระจายไปยังอียิปต์และเยเมน และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 กาแฟได้แพร่ไปทั่วตะวันออกกลางทั้งหมด รวมทั้ง เปอร์เซีย ตุรกีและแอฟริกาเหนือ
ในปี ค.ศ. 1583 เลโอนาร์ด เราวอล์ฟ แพทย์ชาวเยอรมัน ได้บรรยายถึงกาแฟหลังจากท่องเที่ยวในดินแดนตะวันออกใกล้เป็นเวลากว่าสิบปีไว้ว่าดังนี้
“ เครื่องดื่มที่มีสีดำเหมือนหมึก ใช้รักษาโรคภัยได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับท้อง ผู้ดื่มจะดื่มในตอนเช้า มันเป็นการนำน้ำและผลไม้จากไม้พุ่มที่เรียกว่า bunnu ”
ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 16 กาแฟถูกปลูกโดยชาวอาหรับเท่านั้น ชาวอาหรับหวงแหนพันธุ์กาแฟมาก แต่ในที่สุดเมล็ด กาแฟก็ออกมาสู่โลกกว้าง เนื่องจากการค้าขายระหว่างเวนิซกับแอฟริกาเหนือ อียิปต์และตะวันออกกลางที่เจริญขึ้น ทำให้อิตาลีได้รับสินค้าใหม่ ๆ เข้ามา ซึ่งรวมไปถึงกาแฟด้วย หลังจากนั้น กาแฟก็ได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรป
เนื่องจากได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องดื่มของคริสเตียนโดยสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ในปี ค.ศ. 1600 แม้ว่าจะมีการร้องเรียนให้ยกเลิก "เครื่องดื่มมุสลิม" ก็ตาม
ร้านกาแฟแห่งแรกในทวีปยุโรปเปิดในอิตาลีในปี ค.ศ. 1645 ชาวดัตช์เป็นชนชาติแรกที่นำเข้ากาแฟ เป็นจำนวนมาก และฝ่าฝืนข้อห้ามของอาหรับเกี่ยวกับการส่งออกพืชและเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่ว
เมื่อ Pieter van den Broeck ลักลอบนำเข้ากาแฟจากเอเดนไปยังยุโรปในปี ค.ศ. 1616 ในภายหลังชาวดัตช์ยังได้นำไปปลูกในเกาะชวาและซีลอน ซึ่งผลผลิตกาแฟจากเกาะชวาสามารถส่งไปยังเนเธอร์แลนด์ได้ในปี ค.ศ. 1711 และด้วยความพยายามของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษเช่นเดียวกัน
กาแฟเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1657 และเข้าสู่ประเทศออสเตรียและโปแลนด์ หลังจาก ยุทธการแห่งเวียนนา เมื่อปี ค.ศ. 1683 หลังจากที่ทหารสามารถยึดเสบียงของทหารออตโตมานเติร์กที่พ่ายแพ้ในการรบครั้งนั้น
หลังจากนั้น กาแฟได้เข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือในช่วงของยุคอาณานิคม แต่ว่าไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับในทวีปยุโรป
อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกัน ปริมาณความต้องการกาแฟได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนพวกพ่อค้ากักตุนสินค้าเอาไว้และปั่นราคาขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งบางส่วนเป็นผลมาจากการที่พ่อค้าชาวอังกฤษไม่สามารถนำเข้าชาได้มากนัก
หลังจากสงครามปี 1812 ในช่วงที่อังกฤษงดการนำเข้าชาเป็นการชั่วคราว ชาวอเมริกันจึงหันมาดื่มกาแฟแทน และมีปริมาณความต้องการสูงมากในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาของเทคโนโลยีการต้มเหล้าทำให้กาแฟกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน
เชื่อกันว่ากาแฟถูกค้นพบครั้งแรกโดยเด็กเลี้ยงแพะชาวอาบิสซีเนีย ที่ชื่อว่า คาลดี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 จากการสังเกตพบว่า แพะดูกระปรี้กระเปร่าขึ้นเมื่อกินเมล็ดกาแฟป่า จากเอธิโอเปีย กาแฟได้แพร่กระจายไปยังอียิปต์และเยเมน และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 กาแฟได้แพร่ไปทั่วตะวันออกกลางทั้งหมด รวมทั้ง เปอร์เซีย ตุรกีและแอฟริกาเหนือ
ในปี ค.ศ. 1583 เลโอนาร์ด เราวอล์ฟ แพทย์ชาวเยอรมัน ได้บรรยายถึงกาแฟหลังจากท่องเที่ยวในดินแดนตะวันออกใกล้เป็นเวลากว่าสิบปีไว้ว่าดังนี้
“ เครื่องดื่มที่มีสีดำเหมือนหมึก ใช้รักษาโรคภัยได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับท้อง ผู้ดื่มจะดื่มในตอนเช้า มันเป็นการนำน้ำและผลไม้จากไม้พุ่มที่เรียกว่า bunnu ”
ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 16 กาแฟถูกปลูกโดยชาวอาหรับเท่านั้น ชาวอาหรับหวงแหนพันธุ์กาแฟมาก แต่ในที่สุดเมล็ด กาแฟก็ออกมาสู่โลกกว้าง เนื่องจากการค้าขายระหว่างเวนิซกับแอฟริกาเหนือ อียิปต์และตะวันออกกลางที่เจริญขึ้น ทำให้อิตาลีได้รับสินค้าใหม่ ๆ เข้ามา ซึ่งรวมไปถึงกาแฟด้วย หลังจากนั้น กาแฟก็ได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรป
เนื่องจากได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องดื่มของคริสเตียนโดยสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ในปี ค.ศ. 1600 แม้ว่าจะมีการร้องเรียนให้ยกเลิก "เครื่องดื่มมุสลิม" ก็ตาม
ร้านกาแฟแห่งแรกในทวีปยุโรปเปิดในอิตาลีในปี ค.ศ. 1645 ชาวดัตช์เป็นชนชาติแรกที่นำเข้ากาแฟ เป็นจำนวนมาก และฝ่าฝืนข้อห้ามของอาหรับเกี่ยวกับการส่งออกพืชและเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่ว
เมื่อ Pieter van den Broeck ลักลอบนำเข้ากาแฟจากเอเดนไปยังยุโรปในปี ค.ศ. 1616 ในภายหลังชาวดัตช์ยังได้นำไปปลูกในเกาะชวาและซีลอน ซึ่งผลผลิตกาแฟจากเกาะชวาสามารถส่งไปยังเนเธอร์แลนด์ได้ในปี ค.ศ. 1711 และด้วยความพยายามของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษเช่นเดียวกัน
กาแฟเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1657 และเข้าสู่ประเทศออสเตรียและโปแลนด์ หลังจาก ยุทธการแห่งเวียนนา เมื่อปี ค.ศ. 1683 หลังจากที่ทหารสามารถยึดเสบียงของทหารออตโตมานเติร์กที่พ่ายแพ้ในการรบครั้งนั้น
หลังจากนั้น กาแฟได้เข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือในช่วงของยุคอาณานิคม แต่ว่าไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับในทวีปยุโรป
อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกัน ปริมาณความต้องการกาแฟได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนพวกพ่อค้ากักตุนสินค้าเอาไว้และปั่นราคาขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งบางส่วนเป็นผลมาจากการที่พ่อค้าชาวอังกฤษไม่สามารถนำเข้าชาได้มากนัก
หลังจากสงครามปี 1812 ในช่วงที่อังกฤษงดการนำเข้าชาเป็นการชั่วคราว ชาวอเมริกันจึงหันมาดื่มกาแฟแทน และมีปริมาณความต้องการสูงมากในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาของเทคโนโลยีการต้มเหล้าทำให้กาแฟกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น