วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

ความสงบ




ความสงบนั้นหมายถึง ความไม่วุ่นวาย ความ ไม่ดิ้นรน ความไร้ซึ่งปัญหาความเดือดร้อน ไร้ซึ่งปัญหาหนักหน่วงถ่วงจิตใจ ไร้ความขัดแย้ง เป็นความราบรื่น เย็นใจ ไม่เร่าร้อน หรือถูกกดดัน ซึ่ง อาจเรียกอีกอย่างว่า วิเวก หรือ สันติ ก็ได้ ความสงบเป็นความสุขที่มีอยู่ในตัวเราทุกๆ คน เราสามารถทำให้เกิด ทำให้เจริญขึ้นได้อย่างง่ายดาย และเป็นความสุขที่ลึกซึ้ง ลุ่มลึกเย็น และอิ่มเอิบ หาความสุขใดเทียบได้ยาก แม้พระพุทธองค์เองท่านยังสรรเสริญความสุขที่เกิดจากค วามสงบว่าเป็นสุดยอดแห่งความสุขชนิดหนึ่ง ความสงบโดยธรรมชาติของมันแล้ว จะทำ ให้เกิดความสุขที่ไม่รุ่มร้อน เป็นความสุขที่เยือกเย็น เป็นความสุขที่บริสุทธิ์ ความสุขอันเกิดจากความสงบนั้นเกือบไม่ต้องพึ่งพิงอาศ ัยสิ่งภายนอกเป็นปัจจัยเลย เรียกว่า เราทำได้เองโดยไม่ต้องอาศัยผู้ใดหรือสิ่งอื่นใด เราสามารถทำให้มันเกิดขึ้น ปรากฏขึ้นแก่จิตใจของเราเอง เป็นความสุขอันลึกซึ้ง ที่เกิดในจิตใจเราเองโดยไม่ได้เบียดเบียนผู้ใดทั้งสิ ้น และเมื่อความสงบในจิตใจเราพัฒนาเพิ่มขึ้น สูงขึ้น ละเอียดลึกซึ้งขึ้น ก็ยิ่งทำให้จิตใจเราโปร่งเบา ฉลาด แหลมคม ไม่หนักหน่วงมืดมน สามารถมองเห็นธรรมชาติทุกอย่างตามความเป็นจริงได้โดย ง่าย และความสงบยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้จ ิตใจของมนุษย์ พัฒนาไปสู่สภาวะแห่งความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงอีกด้วย ลองพิจารณาดู คนเราเวลาไปเดินตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่มากไปด้วยผู ้คน และความวุ่นวาย, หรือ คนที่ทำงานอย่างเคร่งเครียด ตรากตรำ ทำงานทั้งวันเพื่อให้ได้เงินมากๆ, พอเราได้หยุดพัก กลับบ้านพักผ่อนจะเป็นเวลาที่เรารู้สึกสบายที่สุด ; เวลาฟังเพลงที่อึกทึกครึกโครมหรืออยู่ในสถานที่ที่มี มลพิษทางเสียงมากๆ เวลาที่เงียบสงบจากสิ่งเหล่านั้น ก็จะเป็นช่วงเวลาที่รู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบายใจ




ความสุขจากการแสวงหาสิ่งภายนอกนั้น ช่วง เวลาที่เราได้สมหวังดังปรารถนา ได้สิ่งนั้นๆ มาเป็น ช่วงที่เรามีความสุขที่สุด ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ได้สุข เพราะความสมหวังอย่างเดียว แต่มันมีความสุขที่เกิดขึ้นพร้อมกันที่แฝงตัวอยู่อีก อย่างหนึ่ง คือความ สุขจากการหยุดดิ้นรน ความสุขจากการได้พักผ่อน จิตใจที่ได้กระเสือกกระสนมาตลอดเส้นทางแห่งการแสวงหา นั้น ความสุขจากการสมหวังสมปรารถนานั้นมันไม่ใช่ความสุขที ่ละเอียดลึกซึ้งเท่าใดนักมันไม่เย็นใจสงบใจ เพราะมันยังแฝงไปด้วยความกลัว ความตื่นเต้นร้อนรน และความทุกข์ แต่ความสุขที่เกิดควบคู่กันเพราะความสงบกาย สงบใจจากการสิ้นสุดการแสวงหาดิ้นรนนั้น แม้เพียงชั่วเวลาหนึ่งก็ตาม มันก็เป็นความสุขที่ละเอียด เยือกเย็นกว่า แล้วทำไมเราต้องไปเสียเวลาบีบคั้น กดดันตนเองเพื่อให้แสวงหาอะไรๆ ต่างๆ มากมายมาเพื่อ สร้างความสุข แล้วก็กลับไปได้ความสุขแบบปลอมๆ สุขที่เจือทุกข์มาอีกเล่า ทำไมเราไม่หัดฝึก กายฝึกใจเพื่อให้ได้ความสุขที่บริสุทธิ์กว่า จากความ สงบโดยตรงมันจะไม่ดีกว่าหรือ? มันไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องดิ้นรน ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ตัวอย่างที่ยกมาเหล่านี้ ล้วนเป็นความสุขจาก ความสงบที่เราประสบพบอยู่เป็นประจำ แต่เราอาจ ไม่รู้จักมัน สิ่งพวกนี้มีได้ง่ายๆ สร้างได้ง่าย แม้จะยังเป็นความสงบที่ยังไม่ละเอียดนัก แต่มันก็ให้ ความสุขที่บริสุทธิ์กว่าความสุขแบบพึ่งพิงมากมาย ความสงบหรือวิเวกนั้นสามารถแยกออกได้ตามลำดับขั้นของ ความละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งแต่ละขั้นแต่ละลำดับก็ล้วนมีผลส่งเสริมต่อกันและ กัน เราพอจะแยกความสงบออกได้ง่ายๆ 3 อย่างคือ กายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ อีกอย่างก็คือ ความสงบกาย ความสงบจิตใจ และความสงบทางจิตญาณ เมื่อมีกายวิเวก ก็จะส่งเสริมให้เกิดจิตวิเวกได้ง่ายขึ้น เมื่อมีกายวิเวกและจิตวิเวกก็จะส่งเสริม ให้เกิดอุปธิวิเวกได้ง่ายขึ้น เมื่อมีอุปธิวิเวกก็ส่งเสริม ให้เกิดจิตวิเวกได้ง่ายขึ้นอีกเช่นเดียวกัน ทั้งหมดจึงล้วนเป็นสิ่งที่เกื้อหนุน ส่งเสริมต่อกัน ดังจะขอกล่าวถึงรายละเอียดในแต่ละเรื่องของวิเวกดังต ่อไปนี้ กายวิเวก (ความสงบกาย) ความสงบขั้นนี้เป็นความสงบขั้นแรก ที่หยาบที่สุดมีความละเอียดความลึกซึ้งน้อยที่สุด แต่ก็ทำให้เกิดความสุขที่ละเอียดดีงามสงบเย็นกว่าควา มสุขอันเกิดจากการแสวงหาสิ่งภายนอกมากมายนัก ความสงบชั้นนี้ทำให้เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด หรือแทบจะเรียกได้ว่าไม่ต้องมีการดำเนินจิต ฝึกจิตอันใดมากมาย คำว่ากายวิเวกจะพูดง่ายๆ ก็หมายถึง กายภาพวิเวก คือ เป็นความสงบทางกายภาพ หรือ ความสงบที่เกิดจากสภาวะของร่างกายและสิ่งแวดล้อมที่ส งบ เหมือนดังตัวอย่างที่ยกไปแล้วบ้างขั้นต้น การที่ได้พักกาย พักการกระทำ พักจิตใจ จาก ความสับสนวุ่นวาย ไม่ว่าจะพักอยู่ที่บ้าน หรือหนีความวุ่นวายไปเที่ยวตามธรรมชาติ ป่าเขา ลำเนาไพรซึ่งเป็นที่สงบร่มเย็น จิตใจเราก็จะรู้สึกสบาย มีความสุข นี่ก็เพราะกายวิเวก เมื่อมีกายวิเวก ก็ส่งเสริมจิตวิเวก จิตใจที่เคยรุ่มร้อนก็จะค่อยๆ สงบ เย็นลงได้อย่างประหลาด พระพุทธองค์ท่านจึงแนะนำพระสงฆ์ สาวกที่บวชใหม่ทั้งหลายให้ออกไปหาสถานที่ที่สงบวิเวก ต่างๆ เช่น ป่า เขา ลำเนาไพร ถ้ำ เงื้อมผา เรือนร้าง ประกอบการบำเพ็ญจิตภาวนา เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงและความหลุดพ้นในที่สุด






สถานที่ที่วิเวก สิ่งแวดล้อมที่วิเวก ก็หมายถึง สถานที่ที่มีสิ่งกระตุ้นจิตใจน้อย สถานที่ที่มีความสงบเย็นอยู่ในตัว ปราศจากสิ่งเร่าร้อน สิ่งเร้า สิ่งยั่วยวนและปราศจากความวุ่นวายทั้งหลายที่จะคอยกร ะตุ้นจิตใจมนุษย์ให้เกิดความทะเยอทะยานอยากได้ อยากแสวงหาไปกับมัน สถานที่แบบนี้จึงมีคุณประโยชน์มากกับจิตใจมนุษย์ มันเป็นเหมือนอาหารอันวิเศษแก่จิตใจ มันจะช่วยปรับสภาพและซึมซับความร้อนรุ่มในจิตใจมนุษย ์ และช่วยหล่อหลอมจิตใจให้ค่อยๆ คืนกลับสู่สภาพสมดุล สถานที่พวกนี้มักอยู่ในธรรมชาติหรือเกี่ยวกับธรรมชาต ิที่เป็นธรรมชาติจริงๆ มักไม่ใช่สิ่งของ วัตถุ หรือสถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น มนุษย์ที่อยู่กับสถานที่เหล่านี้เป็นประจำ จึงมักมีจิตใจที่อ่อนโยน เยือกเย็น โอบอ้อมอารี และมีเมตตา ยิ่งถ้าเป็นผู้บำเพ็ญธรรมด้วยแล้วยิ่ง จำเป็นต้องอาศัยสถานที่เหล่านี้เป็นอย่างมาก เพื่อ การหล่อหลอมจิตใจให้สงบเย็น เพื่อเกิดปัญญาอันแท้จริงได้ง่าย มนุษย์ปุถุชนทั่วไปก็สมควรอย่างยิ่งที่จะหาเวลาอยู่ใ นสถานที่เหล่านี้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นตามวัดป่าที่มีบรรยากาศร่มรื่น ตามป่าเขา ลำธาร น้ำตก ทะเลหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติทั้งหลาย ที่มีผู้คนไม่จอแจนัก สถานที่เหล่านี้จะคอยเยียวยา จิตใจของมนุษย์ จะทำให้จิตใจมนุษย์นั้นสงบเย็นลง เกิดความสุขความเย็นใจได้อย่างอัศจรรย์




แม้ว่าความสุขที่เกิดจากกายวิเวกนี้ จำเป็นที่ จะต้องอาศัยสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกมาทำให้เราเ กิดความสุข แต่มันก็ไม่ใช่เป็นความสุขที่ พึ่งพิง เพราะความสุขจากกายวิเวกนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อ เราอยู่ในสถานที่อันสงบเย็นและเราไม่ได้ไปยึดมั่นถือ มั่นมัน โดยความเกาะเกี่ยวเหนี่ยวรั้ง หรือยึดถือมาเป็นของตน เพราะถ้ามีความรู้สึกที่จะยึดถือหรือครอบครองสถานที่ นั้นๆ แล้ว มันก็ไม่เกิดความสุขจากกายวิเวก มันจะกลายเป็นความดิ้นรน แสวงหา เป็นตัณหาเผาใจเราแทน เพราะฉะนั้นความสุขจากกายวิเวกนี้ จึงเหมือนกับอาศัยสถานที่ของธรรมชาติที่สงบร่มเย็นเห ล่านี้ เป็นที่ปลดปล่อยอารมณ์ ความวุ่นวายใจ ความรุ่มร้อนที่มีอยู่ในใจออกไป ผ่อนคลายความยึดถือ ปล่อยวางความเป็นตัวตนออก จึงจะสัมผัสกับความสงบ เบาใจ ปลอดโปร่ง อันนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น