วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553
โรคความดันโลหิตต่ำเป็นอย่างไร รักษาโดยดื่มเบียร์จริงหรือ
ความจริงแล้วไม่มี “โรคความดันต่ำ” มีแต่ภาวะความดันโลหิตต่ำที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายขาดสารน้ำ เช่น ท้องเสีย อาเจียน เสียเลือด อากาศร้อนจัด หรือจากยาบางชนิด ความดันโลหิตที่วัดได้ 90/60 มม.ปรอท ไม่ได้หมายความว่าเป็นความดันโลหิต ที่ต่ำกว่าปกติ คนจำนวนมากมีความดันโลหิตขนาดนี้ โดยไม่มีอาการผิดปกติ อาการหน้ามืด เวียนศีรษะบ่อยๆ ที่คนส่วนใหญ่ คิดว่าเป็นจาก "ความดันต่ำ" นั้น อาจเกิดจากหลายสาเหตุ มักจะเกิดจากการ ขาดการออกกำลังกาย มากกว่าที่จะเกิดจากภาวะ ความดันโลหิตต่ำ การรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำ ต้องรักษาที่สาเหตุ ไม่ใช่การดื่มเบียร์อย่างที่เข้าใจกัน
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคแรงดันเลือดสูง ภาษาอังกฤษเรียก Hypertension ภาษาชาวบ้านเรียกง่ายๆว่า “โรคความดัน” ซึ่งเป็นโรคที่รู้จักกันมาก โรคหนึ่ง แต่เชื่อไหมครับ จากการศึกษาพบว่าชาวอเมริกันร้อยละ 68.4 เท่านั้นที่ทราบว่าตัวเองมี ความดันโลหิตสูง และมีเพียงร้อยละ 53.6 ที่รับการรักษา และในกลุ่มนี้มีเพียงร้อยละ 27.4 ที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี นั่นเป็นสถิติต่างประเทศ สำหรับบ้านเรายังล้าหลังเรื่องข้อมูลพวกนี้อยู่มาก ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจ และ เห็นความสำคัญของการรักษาความดันโลหิตสูงมากขึ้น
ความดันโลหิตคืออะไร
ลองนึกภาพสายยางรดน้ำต้นไม้ มีน้ำไหลเป็นจังหวะการปิดเปิดของก๊อก เมื่อเปิดน้ำเต็มที่ น้ำไหลผ่านสายยาง ย่อมทำให้เกิดแรง ดันน้ำขึ้นในสายยางนั้น และเมื่อปิดหรือหรี่ก๊อก น้ำไหลน้อยลง แรงดันในสายยางก็ลดลงด้วย ระบบหัวใจและหลอดเลือด ก็เป็น ระบบไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย โดยมีหัวใจ ทำหน้าที่คล้ายก๊อก หรือ ปั๊มน้ำ คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เลือดไหลแรงดี ความดันก็ดี หากหัวใจบีบตัวไม่ดี เลือดไหลอ่อน ความดันก็ลดลง นอกจาก นั้นแล้วความดันในหลอดเลือดยังขึ้นกับสภาพของ หลอดเลือดด้วย หากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี จะปรับความดันได้ดี ไม่ให้สูงเกินไป แต่หาก หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น หรือ แข็งตัว ก็จะทำให้ความดันเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ค่าความดันโลหิตจะมีสองค่าเสมอ เรียกว่า “ตัวบน” และ “ตัวล่าง” ค่าแรกเป็นความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจ บีบตัว ไล่เลือดออก จากหัวใจ ส่วนตัวล่างคือความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ผู้ป่วยความดัน โลหิตสูงควรจำค่าทั้งสองไว้ เพราะมีความสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ความดันโลหิตเท่าไรเรียกว่าปกติ
ปัจจุบันความดันโลหิตที่เรียกว่า “เหมาะสม” ในผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปี คือ ตัวบนไม่เกิน 120 มม.ปรอท และตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท เรียกสั้นๆว่า 120/80 ความดันโลหิตที่ “อยู่ในเกณฑ์ปกติ” คือ ต่ำกว่า 130/85 มม.ปรอท ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 130-139/85-89 มม.ปรอท จะเรียกได้ว่ามีความดันโลหิตสูงเมื่อ ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 มม.ปรอท อย่างไรก็ตามก่อน ที่จะเรียกว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงได้นั้น แพทย์จะต้องวัดซ้ำหลายๆครั้ง หลังจากให้ผู้ป่วยพักแล้ว วัดซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าสูงจริง และที่สำคัญเทคนิค การวัดต้องถูกต้องด้วย
ข้อที่ควรทราบบางประการเกี่ยวกับความดันโลหิต
ประการแรกคือความดันโลหิตเป็นค่าไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุกวินาที จึงไม่แปลกที่วัดซ้ำในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แล้วได้คนละค่า แต่ก็ไม่ควรจะแตกต่างกันนัก ความดันโลหิตยังขึ้นกับท่าของผู้ถูกวัดด้วย ท่านอนความดันโลหิตมักจะสูงกว่าท่ายืน นอกจากนั้นแล้ว ยังขึ้นกับ สิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อาหาร บุหรี่ อากาศ กิจกรรมที่ทำอยู่ รวมทั้งจิตใจด้วย
โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคแรงดันเลือดสูง ภาษาอังกฤษเรียก Hypertension ภาษาชาวบ้านเรียกง่ายๆว่า “โรคความดัน” ซึ่งเป็นโรคที่รู้จักกันมาก โรคหนึ่ง แต่เชื่อไหมครับ จากการศึกษาพบว่าชาวอเมริกันร้อยละ 68.4 เท่านั้นที่ทราบว่าตัวเองมี ความดันโลหิตสูง และมีเพียงร้อยละ 53.6 ที่รับการรักษา และในกลุ่มนี้มีเพียงร้อยละ 27.4 ที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี นั่นเป็นสถิติต่างประเทศ สำหรับบ้านเรายังล้าหลังเรื่องข้อมูลพวกนี้อยู่มาก ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจ และ เห็นความสำคัญของการรักษาความดันโลหิตสูงมากขึ้น
ความดันโลหิตคืออะไร
ลองนึกภาพสายยางรดน้ำต้นไม้ มีน้ำไหลเป็นจังหวะการปิดเปิดของก๊อก เมื่อเปิดน้ำเต็มที่ น้ำไหลผ่านสายยาง ย่อมทำให้เกิดแรง ดันน้ำขึ้นในสายยางนั้น และเมื่อปิดหรือหรี่ก๊อก น้ำไหลน้อยลง แรงดันในสายยางก็ลดลงด้วย ระบบหัวใจและหลอดเลือด ก็เป็น ระบบไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย โดยมีหัวใจ ทำหน้าที่คล้ายก๊อก หรือ ปั๊มน้ำ คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เลือดไหลแรงดี ความดันก็ดี หากหัวใจบีบตัวไม่ดี เลือดไหลอ่อน ความดันก็ลดลง นอกจาก นั้นแล้วความดันในหลอดเลือดยังขึ้นกับสภาพของ หลอดเลือดด้วย หากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี จะปรับความดันได้ดี ไม่ให้สูงเกินไป แต่หาก หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น หรือ แข็งตัว ก็จะทำให้ความดันเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ค่าความดันโลหิตจะมีสองค่าเสมอ เรียกว่า “ตัวบน” และ “ตัวล่าง” ค่าแรกเป็นความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจ บีบตัว ไล่เลือดออก จากหัวใจ ส่วนตัวล่างคือความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ผู้ป่วยความดัน โลหิตสูงควรจำค่าทั้งสองไว้ เพราะมีความสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ความดันโลหิตเท่าไรเรียกว่าปกติ
ปัจจุบันความดันโลหิตที่เรียกว่า “เหมาะสม” ในผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปี คือ ตัวบนไม่เกิน 120 มม.ปรอท และตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท เรียกสั้นๆว่า 120/80 ความดันโลหิตที่ “อยู่ในเกณฑ์ปกติ” คือ ต่ำกว่า 130/85 มม.ปรอท ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 130-139/85-89 มม.ปรอท จะเรียกได้ว่ามีความดันโลหิตสูงเมื่อ ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 มม.ปรอท อย่างไรก็ตามก่อน ที่จะเรียกว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงได้นั้น แพทย์จะต้องวัดซ้ำหลายๆครั้ง หลังจากให้ผู้ป่วยพักแล้ว วัดซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าสูงจริง และที่สำคัญเทคนิค การวัดต้องถูกต้องด้วย
ข้อที่ควรทราบบางประการเกี่ยวกับความดันโลหิต
ประการแรกคือความดันโลหิตเป็นค่าไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุกวินาที จึงไม่แปลกที่วัดซ้ำในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แล้วได้คนละค่า แต่ก็ไม่ควรจะแตกต่างกันนัก ความดันโลหิตยังขึ้นกับท่าของผู้ถูกวัดด้วย ท่านอนความดันโลหิตมักจะสูงกว่าท่ายืน นอกจากนั้นแล้ว ยังขึ้นกับ สิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อาหาร บุหรี่ อากาศ กิจกรรมที่ทำอยู่ รวมทั้งจิตใจด้วย
10 วิธีง่ายๆ เป็นหมอดูแลตนเอง
1. เติมชีวิตประจำวันให้สมบูรณ์
มีสิ่งสำคัญสี่ประการที่คุณควรปฏิบัติทุกวันเพื่อเติมเต็มสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ได้แก่ กินผักและผลไม้สดจำนวนมาก ออกกำลังหรือเดินให้มากพอ หัวเราะหรือทำกิจกรรมผ่อนคลายจิตใจอย่างน้อย 15 นาที และกินอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ถั่ว ธัญพืช และอาหารที่ระบุว่า มีกากใยสูง หากทำได้ครบทั้งสี่ข้อทุกวัน รับรองได้ว่าคุณจะมีสุขภาพดี (ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้คงจะสูญเปล่า หากคุณยังคงสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือกินช็อกโกแลตเป็นประจำ)
2. ตรวจตัวเองทุกสองหรือสามเดือน
หมายถึงให้ตรวจตรา ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ตรวจดูผิวหนังทุกแห่ง มองหาปานหรือไฝรอยใหม่ รวมถึงผื่นและร่องรอยที่ดูน่าสงสัย อย่ามองข้ามหนังศีรษะ ซอกนิ้วทุกนิ้ว และใต้รักแร้ หากพบสิ่งผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์
ผู้ที่มีไฝ ให้ตรวจดูความผิดปกติดังนี้
ลักษณะไม่สมดุล สองซีกไม่เหมือนกัน
ขอบไม่เรียบ บริเวณขอบนอกขรุขระหรือไม่ชัดเจน
สีไม่สม่ำเสมอ เช่น มีสีดำ น้ำตาล หรือชมพูแตกต่างกันหลายระดับ
ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าหกมิลลิเมตร
3. สังเกตการนอน
สัญญาณเตือนที่ชัดเจนสามประการของภาวะนอนหลับไม่เพียงพอคือ หนึ่ง จำเป็นต้องพึ่งนาฬิกาปลุกทุกเช้า สอง ง่วงนอนตอนบ่ายจนมีผลกระทบต่อกิจกรรมปกติ สาม มีอาการง่วงจนแทบหลับหลังอิ่มอาหารมื้อเย็น หากคุณมีอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่ง ควรหาเวลานอนพักผ่อนเพิ่มขึ้น หากคุณนอนมากเพียงพอแล้ว (ประมาณคืนละแปดชั่วโมง) แต่ยังมีอาการก่อนเพลียเหมือนอดนอน ควรปรึกษาแพทย์
4. วัดส่วนสูงทุกปีเมื่อวัยเกิน 50
ข้อนี้สำคัญเป็นพิเศษต่อผู้หญิง เพราะช่วยประเมินท่วงท่าและสุขภาพของกระดูก ความสูงที่ลดลงเป็นข้อมูลสำคัญที่บ่งบอกว่าความหนาแน่นกระดูกลดลงและจำเป็นต้องตรวจสุขภาพกระดูกทั้งร่างกาย หากมีข้อสงสัยให้ปรึกษาแพทย์
5. เปรียบเทียบสีปัสสาวะของคุณกับตารางสีมาตรฐาน
ข้อนี้อาจฟังดูแปลกแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยปกติ ปัสสาวะของคุณควรจะใสหรือมีสีเหลืองอ่อน หากดื่มน้ำไม่เพียงพอปัสสาวะจะสีเหลืองเข้มหรือมีกลิ่นรุนแรงขึ้น หากปัสสาวะยังคงเหลืองเข้มทั้งที่คุณดื่มน้ำมากเพียงพอ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ บางครั้ง ปัสสาวะสีเหลืองสดใสอาจเกิดจากสีของวิตามินบีในยาเม็ดวิตามินรวม (หากคุณกินเป็นประจำ)
6. วัดอัตราเต้นหัวใจหลังออกกำลัง
งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์แห่งอเมริกา ระบุว่าผู้หญิงที่มีอัตราเต้นหัวใจหลังออกกำลังคืนสภาพช้ากว่าปกติจะมีความเสี่ยงของภาวะหัวใจพิบัติภายในสิบปีเป็นสองเท่าของผู้ที่มีการคืนสภาพของอัตราเต้นหัวใจเป็นปกติ ในการออกกำลังครั้งต่อไป ให้ลองเดินเร็วหรือวิ่ง 20 นาที แล้วนับอัตราเต้นหัวใจทันทีที่ หยุดออกกำลังด้วยการนับจำนวนครั้งภายใน 15 วินาทีคูณด้วยสี่ซึ่งเท่ากับอัตราเต้นหัวใจต่อหนึ่งนาที จากนั้นให้นั่งพักเหนื่อยสองนาทีแล้ววัดซ้ำ นำตัวเลขครั้งแรกหักลบด้วยครั้งที่สอง ถ้าต่ำกว่า 55 แสดงว่าการคืนสภาพของอัตราเต้นหัวใจเป็นปกติ หากสูงกว่านี้ควรปรึกษาแพทย์
7. หากคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน ให้ตรวจเท้าทุกวัน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดเท้าพิการสูงกว่าคนทั่วไป ซึ่งมักเริ่มต้นจากแผลเล็กน้อย แผลผุพอง รอยฟกช้ำ หรือผื่นจากเชื้อรา จึงควรตรวจหาสิ่งเหล่านี้ทุกวัน โรคเบาหวานทำให้เส้นประสาทเสียหายโดยเฉพาะบริเวณเท้า การตรวจเท้าจึงมีความสำคัญเช่นเดียวกับการตรวจระดับน้ำตาล ในเลือด
8. วัดความดันโลหิตทุกหกเดือน
อาจวัดที่คลินิกใกล้บ้าน หรือวัดเองที่บ้านถ้ามีอุปกรณ์ หากคุณอยากรู้ถึงความสำคัญของความดันโลหิตสูง เข้าไปที่ thaihypertension.org เว็บไซต์ของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย หากค่าความดันโลหิตตัวแรกมากกว่า 140 (หรือ 130 สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) หรือตัวหลังมากกว่า 90 (80 สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) ให้วัดซ้ำอีกครั้งในวันถัดไป หากยังสูงอยู่ให้ปรึกษาแพทย์
9. ตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด
ผู้ที่อายุเกิน 40 ปีและไม่มีปัญหาโรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูง ควรพบแพทย์เพื่อขอตรวจกรองประเมินระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างละเอียด (วิธีนี้ช่วยประเมินโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองในอนาคต) สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี แต่มีประวัติสมาชิกครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง ควรรับการตรวจเช่นกัน การตรวจประกอบด้วยการวัดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับคอเลสเตอรอล วัดความดันโลหิต ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น การวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอสำหรับประเมินความเสี่ยงต่อโรค ผู้ที่ระดับคอเลสเตอรอลปกติอาจมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายประการที่ทำให้เกิดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมให้ปรึกษาแพทย์
10. ตรวจสภาพเส้นผม
หากคุณมีปัญหาผมร่วง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอตรวจระดับเฟอร์ริตินในเลือด ซึ่งเป็นดัชนีบ่งบอกปริมาณธาตุเหล็กสะสมในร่างกาย การศึกษาบางฉบับระบุว่า ระดับเฟอร์ริตินต่ำเกี่ยวข้องกับปัญหาผมร่วงชนิดไม่มีสาเหตุ โรคไทรอยด์คือสาเหตุอีกประการที่พบบ่อย
มีสิ่งสำคัญสี่ประการที่คุณควรปฏิบัติทุกวันเพื่อเติมเต็มสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ได้แก่ กินผักและผลไม้สดจำนวนมาก ออกกำลังหรือเดินให้มากพอ หัวเราะหรือทำกิจกรรมผ่อนคลายจิตใจอย่างน้อย 15 นาที และกินอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ถั่ว ธัญพืช และอาหารที่ระบุว่า มีกากใยสูง หากทำได้ครบทั้งสี่ข้อทุกวัน รับรองได้ว่าคุณจะมีสุขภาพดี (ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้คงจะสูญเปล่า หากคุณยังคงสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือกินช็อกโกแลตเป็นประจำ)
2. ตรวจตัวเองทุกสองหรือสามเดือน
หมายถึงให้ตรวจตรา ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ตรวจดูผิวหนังทุกแห่ง มองหาปานหรือไฝรอยใหม่ รวมถึงผื่นและร่องรอยที่ดูน่าสงสัย อย่ามองข้ามหนังศีรษะ ซอกนิ้วทุกนิ้ว และใต้รักแร้ หากพบสิ่งผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์
ผู้ที่มีไฝ ให้ตรวจดูความผิดปกติดังนี้
ลักษณะไม่สมดุล สองซีกไม่เหมือนกัน
ขอบไม่เรียบ บริเวณขอบนอกขรุขระหรือไม่ชัดเจน
สีไม่สม่ำเสมอ เช่น มีสีดำ น้ำตาล หรือชมพูแตกต่างกันหลายระดับ
ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าหกมิลลิเมตร
3. สังเกตการนอน
สัญญาณเตือนที่ชัดเจนสามประการของภาวะนอนหลับไม่เพียงพอคือ หนึ่ง จำเป็นต้องพึ่งนาฬิกาปลุกทุกเช้า สอง ง่วงนอนตอนบ่ายจนมีผลกระทบต่อกิจกรรมปกติ สาม มีอาการง่วงจนแทบหลับหลังอิ่มอาหารมื้อเย็น หากคุณมีอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่ง ควรหาเวลานอนพักผ่อนเพิ่มขึ้น หากคุณนอนมากเพียงพอแล้ว (ประมาณคืนละแปดชั่วโมง) แต่ยังมีอาการก่อนเพลียเหมือนอดนอน ควรปรึกษาแพทย์
4. วัดส่วนสูงทุกปีเมื่อวัยเกิน 50
ข้อนี้สำคัญเป็นพิเศษต่อผู้หญิง เพราะช่วยประเมินท่วงท่าและสุขภาพของกระดูก ความสูงที่ลดลงเป็นข้อมูลสำคัญที่บ่งบอกว่าความหนาแน่นกระดูกลดลงและจำเป็นต้องตรวจสุขภาพกระดูกทั้งร่างกาย หากมีข้อสงสัยให้ปรึกษาแพทย์
5. เปรียบเทียบสีปัสสาวะของคุณกับตารางสีมาตรฐาน
ข้อนี้อาจฟังดูแปลกแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยปกติ ปัสสาวะของคุณควรจะใสหรือมีสีเหลืองอ่อน หากดื่มน้ำไม่เพียงพอปัสสาวะจะสีเหลืองเข้มหรือมีกลิ่นรุนแรงขึ้น หากปัสสาวะยังคงเหลืองเข้มทั้งที่คุณดื่มน้ำมากเพียงพอ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ บางครั้ง ปัสสาวะสีเหลืองสดใสอาจเกิดจากสีของวิตามินบีในยาเม็ดวิตามินรวม (หากคุณกินเป็นประจำ)
6. วัดอัตราเต้นหัวใจหลังออกกำลัง
งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์แห่งอเมริกา ระบุว่าผู้หญิงที่มีอัตราเต้นหัวใจหลังออกกำลังคืนสภาพช้ากว่าปกติจะมีความเสี่ยงของภาวะหัวใจพิบัติภายในสิบปีเป็นสองเท่าของผู้ที่มีการคืนสภาพของอัตราเต้นหัวใจเป็นปกติ ในการออกกำลังครั้งต่อไป ให้ลองเดินเร็วหรือวิ่ง 20 นาที แล้วนับอัตราเต้นหัวใจทันทีที่ หยุดออกกำลังด้วยการนับจำนวนครั้งภายใน 15 วินาทีคูณด้วยสี่ซึ่งเท่ากับอัตราเต้นหัวใจต่อหนึ่งนาที จากนั้นให้นั่งพักเหนื่อยสองนาทีแล้ววัดซ้ำ นำตัวเลขครั้งแรกหักลบด้วยครั้งที่สอง ถ้าต่ำกว่า 55 แสดงว่าการคืนสภาพของอัตราเต้นหัวใจเป็นปกติ หากสูงกว่านี้ควรปรึกษาแพทย์
7. หากคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน ให้ตรวจเท้าทุกวัน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดเท้าพิการสูงกว่าคนทั่วไป ซึ่งมักเริ่มต้นจากแผลเล็กน้อย แผลผุพอง รอยฟกช้ำ หรือผื่นจากเชื้อรา จึงควรตรวจหาสิ่งเหล่านี้ทุกวัน โรคเบาหวานทำให้เส้นประสาทเสียหายโดยเฉพาะบริเวณเท้า การตรวจเท้าจึงมีความสำคัญเช่นเดียวกับการตรวจระดับน้ำตาล ในเลือด
8. วัดความดันโลหิตทุกหกเดือน
อาจวัดที่คลินิกใกล้บ้าน หรือวัดเองที่บ้านถ้ามีอุปกรณ์ หากคุณอยากรู้ถึงความสำคัญของความดันโลหิตสูง เข้าไปที่ thaihypertension.org เว็บไซต์ของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย หากค่าความดันโลหิตตัวแรกมากกว่า 140 (หรือ 130 สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) หรือตัวหลังมากกว่า 90 (80 สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) ให้วัดซ้ำอีกครั้งในวันถัดไป หากยังสูงอยู่ให้ปรึกษาแพทย์
9. ตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด
ผู้ที่อายุเกิน 40 ปีและไม่มีปัญหาโรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูง ควรพบแพทย์เพื่อขอตรวจกรองประเมินระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างละเอียด (วิธีนี้ช่วยประเมินโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองในอนาคต) สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี แต่มีประวัติสมาชิกครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง ควรรับการตรวจเช่นกัน การตรวจประกอบด้วยการวัดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับคอเลสเตอรอล วัดความดันโลหิต ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น การวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอสำหรับประเมินความเสี่ยงต่อโรค ผู้ที่ระดับคอเลสเตอรอลปกติอาจมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายประการที่ทำให้เกิดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมให้ปรึกษาแพทย์
10. ตรวจสภาพเส้นผม
หากคุณมีปัญหาผมร่วง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอตรวจระดับเฟอร์ริตินในเลือด ซึ่งเป็นดัชนีบ่งบอกปริมาณธาตุเหล็กสะสมในร่างกาย การศึกษาบางฉบับระบุว่า ระดับเฟอร์ริตินต่ำเกี่ยวข้องกับปัญหาผมร่วงชนิดไม่มีสาเหตุ โรคไทรอยด์คือสาเหตุอีกประการที่พบบ่อย
วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553
5 ความขี้เกียจที่ผู้หญิงไม่ควรทำ !!
1. ไม่ล้างเครื่องสำอาง ปัญหาใหญ่ของผู้หญิงหลายคน ที่ชอบอ้างว่าง่วงนอน จึงไม่พิถีพิถันในการล้างใบหน้าให้สะอาด จนกลายเป็นสิวในที่สุด
2. ไม่ชอบถอดคอนแทคเลนส์เวลานอน พฤติกรรมนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจถึงขั้นตาบอดได้
3. ไม่ยอมเคี้ยวอาหารให้ละเอียด พฤติกรรมนี้เป็นการทำร้ายกระเพาะอาหารและลำไส้อย่างแรง
4. ไม่เช็ดฝารองชักโครก หลายคนอาจละเลย แต่จงรู้ไว้ว่าฝารองชักโครกเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี ฉะนั้นก่อนใช้ควรเช็ดฝารองชักโกรกทุกครั้ง
5. ขี้เกียจถือโทรศัพท์ ชอบเอามาแนบระหว่างลำคอกับบ่า ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวเกิดอาการเกร็ง ผู้ใช้จะรู้สึกปวดคอเรื้อรัง แล้วกลายเป็นเส้นประสาทกล้ามเนื้ออักเสบในที่สุด
ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว สุขภาพจะได้แข็งแรง
ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
2. ไม่ชอบถอดคอนแทคเลนส์เวลานอน พฤติกรรมนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจถึงขั้นตาบอดได้
3. ไม่ยอมเคี้ยวอาหารให้ละเอียด พฤติกรรมนี้เป็นการทำร้ายกระเพาะอาหารและลำไส้อย่างแรง
4. ไม่เช็ดฝารองชักโครก หลายคนอาจละเลย แต่จงรู้ไว้ว่าฝารองชักโครกเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี ฉะนั้นก่อนใช้ควรเช็ดฝารองชักโกรกทุกครั้ง
5. ขี้เกียจถือโทรศัพท์ ชอบเอามาแนบระหว่างลำคอกับบ่า ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวเกิดอาการเกร็ง ผู้ใช้จะรู้สึกปวดคอเรื้อรัง แล้วกลายเป็นเส้นประสาทกล้ามเนื้ออักเสบในที่สุด
ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว สุขภาพจะได้แข็งแรง
ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
กลุ่มบุคคลไม่พึงประสงค์ 12 แบบบน Facebook
ทาง CNN.com ได้ทำการแบ่งประเภทของบุคคลที่ไม่พึงประสงค์บน facebook ไว้ 12 แบบ
ลองอ่านกันดูนะว่า เพื่อนๆ ถูกจัดไว้ประเภทไหนกันบ้างรึเปล่า บางคนเป็นมากกว่าหนึ่งประเภทนะเนี่ย
1. The Let-Me-Tell-You-Every-Detail-of-My-Day Bore
พวกที่คิดว่าทุกอย่างที่ฉันทำอยู่ ทุกคนจะต้องรับรู้มัน เช่น “ตื่นนอนแล้วนะจ๊ะ” “กำลังกินข้าวเที่ยงอยู่”
อะไรประมาณนั้น จะเห็นได้ว่าทุกจังหวะชีวิตของคนที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะสามารถที่จะรู้ได้ โดยการเข้าไปอ่านจาก
สถานะของเธอบน facebook
ลองอ่านกันดูนะว่า เพื่อนๆ ถูกจัดไว้ประเภทไหนกันบ้างรึเปล่า บางคนเป็นมากกว่าหนึ่งประเภทนะเนี่ย
1. The Let-Me-Tell-You-Every-Detail-of-My-Day Bore
พวกที่คิดว่าทุกอย่างที่ฉันทำอยู่ ทุกคนจะต้องรับรู้มัน เช่น “ตื่นนอนแล้วนะจ๊ะ” “กำลังกินข้าวเที่ยงอยู่”
อะไรประมาณนั้น จะเห็นได้ว่าทุกจังหวะชีวิตของคนที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะสามารถที่จะรู้ได้ โดยการเข้าไปอ่านจาก
สถานะของเธอบน facebook
2. The Self-Promoter
พวกที่คอยเอาแต่โฆษณาขายของแต่ของตัวเอง มันคงไม่แปลกถ้าเราจะโพสลิงค์ไปที่เว็บใดเว็บนึง
แต่ถ้าทุกครั้งที่เราทำการส่งลิงค์ไปนั้น กลับเป็นแต่ลิงค์ของเว็บเราเอง เราก็คงจะไม่ชอบมากนักใช่มั๊ยคะ ?
3. The Friend-Padder
พวกรวยเพื่อน คนบน Facebook ส่วนใหญ่จะมีเพื่อนอยู่ประมาณหลักร้อยคน แต่ถ้าใครที่มีเพื่อนเป็นหลักพัน
โอ้วแม่เจ้า !! คุณคิดว่าคนเหล่านั้นเป็นเพื่อนเค้าจริงๆ หรือเปล่า ?
เออ… หรือไม่แน่เค้าคนนี้อาจจะเป็นดาราดังก็ได้นะ
4. The Town Crier
พวกนักข่าวประจำหมู่บ้าน พวกนี้นี้ถ้ามีข่าวอะไรเกิดขึ้น คุณจะได้ยินจากคนพวกนี้เป็นกลุ่มแรก !!
5. The TMIer
พวกพูดจาน้ำท่วมทุ่ง (TMI: Too Much Information) คือประเด็นมันมีแค่นิดนึง แต่ก็จะพูดยาวๆ ซะจนยืดเยื้อ
น่ารำคาญ บางทีก็พูดในสิ่งที่ไม่ควรจะพูดมากนัก ไม่ว่าจะเป็นชีวิตสมรสที่ล้มเหลว,การไปมีเซ็กส์กับคนอื่นแบบไม่ตั้งใจ เป็นต้น
6. The Bad Grammarian
พวกที่ชอบเขียนแบบผิดๆ โดยที่นึกว่าตัวเองเขียนแบบนี้ไปแล้ว คนอื่นจะมองว่าตัวเองเท่ห์ ตัวเองจริง
แต่ว่าคนอื่นอาจจะมองได้ว่า นี่มันเรียนจบป.6 แล้วหรือยัง ?
7. The Sympathy-Baiter
พวกที่ชอบขอความเห็นใจจากคนอื่น พวกนี้มักจะโพสต์สถานะของตัวเองไว้ว่า “วันนี้รู้สึกแย่จังเลย”
“คืนนี้ฉันเหงาจัง” อะไรประมาณนี้ คนอะไรมันถึงจะเศร้าอยู่ได้ทุกวี่ทุกวันเนอะ
8. The Lurker
พวก "เสือซุ่ม" คือพวกนี้จะไม่ค่อยอัพเดทสถานะของตัวเองซักเท่าไหร่ บางทีอาจจะขี้เกียจ
แต่ถ้าเมื่อไหร่ได้มีโอกาศคุยกับเค้าแล้วละก็ คุณอาจจะสงสัยได้ว่า หมอนี้มันรู้ได้ยังไง ทั้งๆที่ไม่ค่อยเห็นมันเข้ามา
มีกิจกรรมใน Facebook เท่าไหร่เลยนี่หว่า = =?
9. The Crank
พวกกลุ่มคนขี้โมโห ต่อต้านสังคม เฮียคลั่ง พวกนี้มักจะใช้ถ้อยคำที่ค่อนข้างดิบ เถื่อน รุนแรง ดิบๆ แล้วก็ชวนให้
ทะเลาะด้วย เวลาที่กลุ่มคนเหล่านี้ ได้ทำการโพสสถานะของพวกเค้าบน Facebook (ใน Postjung ก้อมี T^T)
10. The Paparazzo
พวกปาปารัซซี่เรียกพี่ พวกนี้มักจะเอารูปของคนอื่นไปโพสไว้ โดยที่เจ้าของยังไม่รู้ตัวเลยว่า รูปพวกนี้มันมาจากใคร
ที่ไหน หรือว่าตอนไหนหว่า ?
11. The Maddening Obscurist
พวกที่ชอบพูดไรคลุมเคลือ หรือว่าจับความไรไม่ค่อยได้ บางทีก็เพ้อออกมาลอยๆ ซะงั๊น !!
บางอย่างก็เป็นอะไรที่ขัดกันอยู่ในตัวมันเอง เช่น “ฉันคิดว่านี่มันเรียนเก่งดีนะ แต่ฉันว่าเค้าก็ไม่ได้โง่หรอก” ???
12. The Chronic Inviter
พวกชื่นชอบชวนเชื้อเชิญ ไม่ว่าจะเป็นเกมส์เอย คำถามปัญญาอ่อนเอย (แต่ผมก็ชอบอ่านนะ ฮาดี) บางทีส่งมา Invite
กันจัง ทุกวัน วันละ 3 เวลา บางทีก็ชวนไปเข้าแก๊งค์นี้มั่ง ไปลอบฆ่าคนๆ นั้นมั่ง ประมาณนี้...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)