UMP (2545)
สาธารณรัฐ สาธารณรัฐที่ 5
รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรี ฟรองซัวส์ ฟียง
สมัยก่อนหน้า ฌาคส์ ชีรัค
สาธารณรัฐ สาธารณรัฐที่ 5
รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรี ฟรองซัวส์ ฟียง
สมัยก่อนหน้า ฌาคส์ ชีรัค
นิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) [nikɔla saʁkɔzi] (ข้อมูล) (28 มกราคม พ.ศ. 2498 — ) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ ผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา คนปัจจุบัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม กระทรวงงบประมาณและนายกเทศมนตรีเนยยี-ซูร์-แซน
เขาเป็นที่รู้จักดีจากทัศนคติในด้านกฎหมายและคำสั่งของเขา รวมถึงความต้องการให้ เศรษฐกิจ ของประเทศฝรั่งเศส กลับคืนสู่สภาพเดิม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาและยังได้กระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศอื่นๆ อีกด้วย ชื่อเล่นที่ผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่างเรียกแทนตัวเขาคือ "ซาร์โก" (Sarko)
เขาเป็นที่รู้จักดีจากทัศนคติในด้านกฎหมายและคำสั่งของเขา รวมถึงความต้องการให้ เศรษฐกิจ ของประเทศฝรั่งเศส กลับคืนสู่สภาพเดิม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาและยังได้กระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศอื่นๆ อีกด้วย ชื่อเล่นที่ผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่างเรียกแทนตัวเขาคือ "ซาร์โก" (Sarko)
ภูมิหลังครอบครัว
ประวัติตระกูล
นิโกลาส์ ซาร์โกซี เป็นลูกชายของ ปาล ชาร์เคอซี เดอ นาดญ์-โบทชา (Pál Sárközy de Nagy-Bócsa) ชาวฮังการี ที่อพยพมา กับ อองเดร มัลละห์ (Andrée Mallah) หญิง ชาวฝรั่งเศส ชาว นิกายคาทอลิก เชื้อสายกรีก-เซพาร์ดิกยิว ตาของเขาเป็น ชาวกรีก ชื่อ 'เบนิโก มัลละห์' (ชื่อเดิม อารอน มัลละห์) ลูกชายของมอร์เดไค มัลละห์ (Mordechai Mallah) ซึ่งเบนิโกเป็นอายุรแพทย์จากเทสซาโลนิกิ ที่อพยพมาประกอบอาชีพที่ ประเทศฝรั่งเศส
เว็บไซต์ http://www.premier-ministre.gouv.fr/
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (Premier ministre français) เป็นตำแหน่งหัวหน้า รัฐบาล และ คณะรัฐมนตรี ของประเทศฝรั่งเศส ส่วนประมุขแห่งรัฐของ ประเทศฝรั่งเศส คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศสคือ ฟรองซัวส์ ฟียง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศสคือ ฟรองซัวส์ ฟียง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
การตัดสินใจหรือกฤษฎีกาของนายกรัฐมนตรี เสมือนกับการตัดสินใจทั้งหมดของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่สอดส่องดูแลระบบสภาในหน่วยการบริหารทั่วประเทศ (Conseil d'État) บางครั้งนายกรัฐมนตรีได้รับคำปรึกษาจากสภาก่อนจะประกาศใช้กฤษฎีกา
เป็นที่รู้กันว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านต้องการปกป้องนโยบายและโครงการในกระทรวงของตน แต่ก็ยังติดอยู่ที่งบประมาณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีนี้เองเป็นคนชี้ขาดในเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งประธานาธิบดีจะมีนาจและอิทธิพลเหนือกว่าก็ตาม
เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลนโยบายของรัฐบาล เมื่อเกิดความผิดพลาดและล้มเหลวก็จะกลายเป็นคนที่ถูกประณามและตำหนิไปโดยปริยาย ผลที่ตามมาก็คือความนิยมที่มีสูงในช่วงแรกและลดฮวบลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนคิดว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการส่งเสริมความสำเร็จของประธานาธิบดี และยังเป็นที่โต้เถียงอย่างมากว่าเป็นตำแหน่งที่อันตรายเพราะความเป็นไปได้ของการลดความนิยม
การเสนอชื่อ
นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และเนื่องจากรัฐสภาสามารถลงมติไม่ไว้วางใจได้ ผลที่ตามมาคือการกดดันให้รัฐบาลลาออก ทำให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนมากของสภาแห่งชาติอีกด้วย
โอเต็ล มาติญง
เมื่อประธานาธิบดีและเสียงส่วนมากของสภาแห่งชาติอยู่ตรงข้ามกันในทางการเมืองจะเรียกว่า การบริหารร่วมกัน (Cohabitation) ซึ่งหมายความว่าประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันหรือประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมาจากต่างพรรคและต่างขั้ว นายกรัฐมนตรียังเป็นคนเสนอชื่อรัฐมนตรีคนอื่นๆ ในคณะรัฐมนตรีให้แก่ประธานาธิบดีด้วย
นายกรัฐมนตรีผู้หญิงคนเดียวในประเทศฝรั่งเศส : เอดิต เครซซง
นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลที่มีการการบริหารร่วมกัน (Cohabitation) : ฌากส์ ชีรัก, เอดูอาร์ด บัลลาดูร์, ลีโอเนล โฌส์แปง
นายกรัฐมนตรีที่ไปเป็นรัฐมนตรีในภายหลัง :
มิแชล เดอเบร (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (รัฐบาลจอร์จ ปอมปิดู 3 และ 5), รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (รัฐบาลจอร์จ ปอมปิดู 5 และโมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์), รัฐมนตรีแห่งรัฐ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลฌากส์ ชาบอง-เดลมาส์และปีแอร์ เมสแมร์ 1))
โลรองต์ ฟาบิอูส์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม (รัฐบาลลีโอเนล โฌส์แปง)
อแลง ฌูป์เป (รัฐมนตรีแห่งรัฐ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม (รัฐบาลฟรองซัวส์ ฟียง 1)
ประธานสภาแห่งชาติฝรั่งเศส (Président de l'Assemblée Nationale)
ฌากส์ ชาบอง-เดลมาส์ : พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2512, พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531
โลรองต์ ฟาบิอูส์ : พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543
เลือกตั้งเข้าไปในราชบัณฑิตยสถานฝรั่งเศส (l'Académie Française)
มิแชล เดอเบร : 24 มีนาคม พ.ศ. 2531
ปีแอร์ เมสแมร์ : 25 มีนาคม พ.ศ. 2542
คณะกรรมาธิการยุโรป (Commissaire Européen)
เอดิต เครซซง : พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542
อายุเมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุด : โลรองต์ ฟาบิอูส์ (37 ปี), ฌากส์ ชีรัก (41 ปี), มิแชล เดอเบร (47 ปี), อแลง ฌูป์เป (49 ปี)
นายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุด: ปีแอร์ เบเรโกวัว (66 ปี), เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ (64 ปี), โมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์ (61 ปี)
ชาร์ลส์-โมริส เดอ ตาลลีร็องด์-เปรีโกร์ด นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศฝรั่งเศส
ระยะเวลาในโอเต็ล มาติญง
ระยะเวลาที่อยู่ใน โอเต็ล มาติญง (Hôtel Matignon) นานที่สุด :
จอร์จ ปอมปิดู : 2,279 วัน หรือ 6 ปี 2 เดือน 26 วัน
ลีโอเนล โฌส์แปง : 1,799 วัน หรือ 4 ปี 11 เดือน 4 วัน
เรย์มงด์ บาร์ : 1,727 วัน หรือ 4 ปี 8 เดือน 23 วัน
ฌากส์ ชีรัก : 1,602 วัน (สองสมัย 820 วัน และ 782 วัน) หรือ 4 ปี 4 เดือน 19 วัน
ระยะเวลาที่อยู่ในโอเต็ล มาติญง (Hôtel Matignon) สั้นที่สุด :
เอดิต เครซซง : 321 วัน หรือ 10 เดือน 16 วัน
โมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์ : 341 วัน หรือ 11 เดือน 6 วัน
ปีแอร์ เบเรโกวัว : 360 วัน หรือ 11 เดือน 26 วัน
จำนวนนายกรัฐมนตรีต่อประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ฟรองซัวส์ มิแตรรองด์ : นายกรัฐมนตรี 7 คน (14 ปี)
ฌากส์ ชีรัก : นายกรัฐมนตรี 4 คน (12 ปี)
ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ : นายกรัฐมนตรี 3 คน (10 ปี 4 เดือน)
วาเลรี ยิสการ์ด เดส์แตง : นายกรัฐมนตรี 2 คน (7 ปี)
จอร์จ ปอมปิดู : นายกรัฐมนตรี 2 คน (5 ปี)
นิโกลาส์ ซาร์โกซี : นายกรัฐมนตรี 1 คน (ยังคงดำรงตำแหน่ง)
นายกรัฐมนตรีที่เคยลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2501
ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2508
ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2512
จอร์จ ปอมปิดู ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส 1 ปีหลังจากการออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
มิแชล โรการ์ด ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 4 ในการเลือกตั้งรอบแรก - 19 ปีก่อนการเป็นนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2517
ฌากส์ ชาบอง-เดลมาส์ ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2524
ฌากส์ ชีรัก ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก
มิแชล เดอเบร ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 8 ในการเลือกตั้งรอบแรก
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2531
ฌากส์ ชีรัก ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้งรอบแรกและรอบสอง ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
เรมงด์ บาร์ ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2538
ฌากส์ ชีรัก ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้งรอบแรกและชนะในการเลือกตั้งรอบสอง เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส - 19 และ 7 ปี หลังจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลีโอเนล โฌส์แปง ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 1 ในการเลือกตั้งรอบแรกและลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้งรอบสอง - 2 ปีก่อนการเป็นนายกรัฐมนตรี
เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2545
ฌากส์ ชีรัก ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ลีโอเนล โฌส์แปง ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น