วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

ทำไมต้องโกหกกัน และความรู้เกี่ยวกับการโกหก

แม้เราทุกคนจะได้รับการสั่งสอนจากผู้ใหญ่มาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ให้พูดแต่ความจริง ไม่ให้พูดโกหก และสำหรับชาวพุทธ การโกหกถือเป็นการผิดศีล แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แทบทุกคนไม่มีใครที่ตลอดชีวิตไม่เคยโกหกเลย


การโกหกเป็นสิ่งไม่ดี เราทุกคนรู้และไม่มีใครชอบ แต่เพราะอะไร ทำไมถึงต้องโกหก


ยิ่งใกล้ชิดยิ่งโกหก
นักจิตวิทยาพบว่า มนุษย์เริ่มโกหกเป็นตั้งแต่อายุ 2 ขวบ และเมื่ออายุได้ 5 ขวบ ความสามารถในการโกหกจะได้รับการพัฒนาขึ้นอีกมาก



แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะในทางจิตวิทยาถือว่าการโกหกเป็นธรรมชาติของเด็กที่เกิดขึ้นอย่างบริสุทธิ์ ไม่มีพิษมีภัย เพราะเด็กยังไม่สามารถแยกแยะจินตนาการออกจากความจริงได้


เด็กมักโกหกเพราะความกลัว ต้องการเลียนแบบและเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่
แต่เมื่อโตขึ้น ไม่ว่าหญิงและชาย ประเภทและระดับการโกหกจะยิ่งมากขึ้นและซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
งานวิจัยล่าสุดของ โรเบิร์ต เฟลด์แมน อาจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยแมสซาซูเซตส์ และผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Liar in Your Life พบว่า ระหว่างการสนทนาทุกๆ 10 นาที จะมีการโกหกประมาณ 2-3 ครั้ง และในบางคู่สนทนาอาจเกิดขึ้นได้มากถึง 12 ครั้ง


เจมส์ แพตเตอร์สัน ผู้เขียนหนังสือ The Day America Told the Truth เผยว่า ไม่ว่าคู่สนทนาจะเป็นใครก็ตามแต่ แทบทุกครั้งของการสนทนามักจะมีเรื่องโกหกร่วมอยู่ด้วยเสมอ เป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกคนจะพูดความจริงต่อกันทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคนใกล้ชิดอย่างคู่รัก พ่อ แม่ ลูก

โกหกกันเพื่ออะไร


การโกหกเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาตราบเท่าที่มีการสื่อสารกัน แม้กระทั่งการสื่อสารข้อความผ่านอีเมล หรือการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์ (sms)ก็เป็นอีกช่องทางยอดฮิตในการโกหก


พอล เอ๊กแมน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งศึกษาเรื่องการโกหกมานานกว่าสี่สิบปี ลงความเห็นว่า “มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการโกหกได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจเรื่องการโกหกจะเป็นผลดีต่อชีวิต”ว่าจะดีขึ้นแค่ไหน เราคงต้องมาพิจารณาดูประเภทของการโกหกก่อน


โกหกสีขาว (White Lie) เป็นการโกหกด้วยเจตนาดี เพื่อถนอมความรู้สึกและรักษาน้ำใจ แทนที่จะบอกความจริงที่เชื่อว่าผู้ฟังคงรับไม่ได้ออกไป บางครั้งการโกหกในลักษณะนี้เป็นการพูดเพื่อให้กำลังใจอีกฝ่าย เรียกได้ว่าเป็นการโกหกเพื่อทำให้ผู้อื่นมีความสุขนั่นเอง


งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การ “รู้จักโกหก”เพื่อเข้าสังคมนั้น ส่งผลให้บุคคลนั้นๆ เป็นที่ชื่นชอบของคนในสังคมมากกว่าผู้ที่พูดแต่ความจริงเพราะการเข้าสังคมบางครั้งจำเป็นต้องปรุงแต่คำพูดซึ่งต่างไปจากความรู้สึกที่แท้จริงเพื่อให้คู่สนทนาสบายใจและประทับใจ


โกหกเพื่อปกป้องตนเอง เป็นการโกหกเพื่อการเอาตัวรอด เช่นกลัวความผิด กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวเสียเกียรติ กลัวการเผชิญหน้า กลัวความผิดหวัง ฯลฯ การโกหกประเภทนี้ในบางครั้งอาจร้ายแรงถึงขั้นโยนความผิด ใส่ความผู้อื่น เป็นพยานเท็จ ฯลฯ


โกหกเพื่อหวังผลประโยชน์ เป็นการโกหกเพื่อทำให้ตนเองได้รับการยอมรับ ความไว้วางใจ ได้โอกาสในการทำงาน มักเป็นในรูปของการปลอมแปลงข้อมูลทางคุณวุฒิ คุณสมบัติ ฐานะการเงิน ฯลฯ
โกหกตนเอง มักเกิดกับคนที่สูญเสียความมั่นใจ สับสน และหวาดกลัวความจริง คนประเภทนี้มักสร้างเรื่อง “หลอกตนเอง”ให้คลายจากความทุกข์ชั่วขณะ เช่นหลอกว่าคนรักที่ทอดทิ้งไปยังมีใจให้อยู่เสมอ และสุดท้ายคนเหล่านี้มักโทษตนเอง อาจเลยไปถึงขั้นทำร้ายร่างกายตนเองหรือตกอยู่ในภาวถซึมเศร้าก็มี
และเมื่อไรก็ตามที่การโกหกลักษณะนี้มีการพัฒนาการมากขึ้น ข้อมูลที่ไม่จริงทั้งหลายก็จะถูกตอกย้ำใส่หูตนเองซ้ำๆ จนตัวเองเริ่มเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง จากนั้นจึงนำเรื่องไม่จริง(ที่ตัวเองเชื่อว่าจริง)นี้ไปบอกผู้อื่นต่อ ทางจิตเวชถือว่าอาการเช่นนี้อยู่ในข่ายอันตรายที่ต้องได้รับการบำบัดเยียวยาอย่างเร่งด่วน




ผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีความสามารถในการใช้สมองซีกขวา รวบรวมเรื่อง จัดการอารมณ์และความรู้สึกได้ดีกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมักโกหกเพื่อถนอมความรู้สุก รักษาน้ำใจของคนใกล้ชิด


• ผู้ชาย * มักโกหกเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และมักเห็นว่าการโกหกเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด สถิคิโดยเฉลี่ย ผู้ชายจะโกหกมากถึง 6 ครั้งต่อวัน ขณะที่ ผู้หญิงจะโกหกเพียง 2 ครั้งต่อวัน
• - ประโยคโกหกยอดฮิต ของทั้งหญิงและชาย “ไม่เป็นไร… สบายดี”
• - ประโยคโกหกยอดฮิตที่ทำให้คนรักหน้ามืดตามัว “คุณเป็นคนเดียวที่ฉันจะรักจนวันตาย”
• - ประโยคโกหกยอดฮิตที่คนมักใช้กับคนรักเพื่อหวังให้อีกฝ่ายใจอ่อนยอมยกโทษให้ “รับรองจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก…ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย”

จะรู้ได้อย่างไรว่าใครโกหก นักจิตวิทยาพบสถิติที่น่าสนใจว่า บรรดาคนพูดโกหกจำนวนกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ หากพบว่าไม่มีใครจับได้ คนเหล่านั้นก็มีแนวโน้มจะพูดโกหกต่อไปเรื่อยๆ เพราะเห็นว่าการโกหกเป็นเรื่องธรรมดา


แต่เชื่อหรือไม่ว่า ไม่ว่าคนคนนั้นจะโกหกได้แนบเนียนอย่างไร ก็ไม่อาจปิดบังปฏิกิริยาในร่างกายขณะโกหกได้ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและชีพจรจะไม่สม่ำเสมอ เหงื่อจะออกมากขึ้น อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ที่สำคัญระดับความดันโลหิจจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการระคายเคืองในระดับเนื้อเยื่อ เช่นบริเวณจมูก ลำคอ ใบหน้า คนที่กำลังโกหกจึงมักเกาหรือถูผิวหนังบริเวณนั้นบ่อยๆเพื่อลดการระคายเคือง




อาการผิดปกติที่พบเห็นทั่วไปเมื่อเวลาโกหก
1. หลบสายตา กะพริบตาหรือกลอกตามองซ้ายขวาไปมาบ่อยครั้งอย่างไม่จำเป็น

2. กลืนน้ำลายบ่อยกว่าปกติ อาการนี้ผู้ชายจะเป็นมากกว่า

3. น้ำเสียงไม่ปกติ ขึ้นเสียง โวยวายเมื่อถูกถามซ้ำๆเพราะคนโกหกจะไม่สามารถจดจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้นาน หรือเล่าความได้ครบถ้วนเหมือนตอนที่เล่าครั้งแรก

4. ตอบคำถามด้วยการย้ำคำพูดหรือหยุดชะงัก ก่อนจะตอบคำถามแบบยืดยาวด้วยการทวนคำถามอีกรอบ ทั้งนี้เพื่อประวิงเวลาในการสร้างเรื่องโกหก

โกหกแล้วได้อะไร



อันดับแรกคือ ความโล่งอกที่หลุดพ้นภาวะหน้าสิ่วหน้าขวานนั้นมาได้ แต่สิ่งที่จะตามมาติดๆคือ ความกังวลใจ กลัวไปสารพัด เพราะไม่อยากถูกจับได้
แต่ยิ่งกลัวมากเท่าไร โอกาสที่การโกหกจะลุกลามต่อไปก็มีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะเมื่อกลัวว่าที่โกหกไปแล้วจะไม่แนบเนียนก็ย่อมต้องโกหกเรื่องอื่นๆ ตามมาเพื่อเสริมความน่าเชื่อถือขึ้นอีกเป็นชั้นๆ บางกรณีเมื่อโกหกแล้วยังไม่มีใครจับได้ ก็ได้ใจและทำต่อไปเรื่อยๆ สำหรับบางคนเลยเป็นสิ่งที่กลายเป็นนิสัยที่แก้ไม่หาย
แต่ความลับไม่มีในโลก ดังนั้นไม่ว่าการโกหกจะถูกเปิดโปงด้วยวิทยาการล้ำสมัยหรือเป็นการจนมุมง่ายๆด้วยวิธีใดก็ตามที ผลที่ผู้โกหกจะได้รับคงไม่แตกต่างไปจากเด็กเลี้ยงแกะที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีใครเชื่อถือและให้ความไว้วางใจอีกต่อไป

รู้จัก ปฏิกิริยา พิน็อกคิโอการแตะจมูกเป็นสัญญาณมือสำคัญที่สื่อว่า เขากำลังโกหก นักวิทยาศาสตร์พบว่า เมื่อคนเราโกหก ความดันเลือดจะสูงขึ้น จมูกจะบานออก หรือที่เรียกว่า พิน็อกคิโอ ทำให้คนที่โกหกต้องถูจมูกเร็วๆ เมื่อคลายอาการคันที่เกิดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น