พวกเราคงจะมีประสบการณ์เห็นคนสูงอายุ... อายุยืนแบบป้ำๆ เป๋อๆ หรือนักการเมืองที่พูดจา 5 ชั่วโมงจับสาระไม่ได้สักคำมาแล้วไม่มากก็น้อย
วันนี้มีข่าวเกี่ยวกับอาหารที่เพิ่ม และลดความเสี่ยงสมองเสื่อมอัลไซเมอร์มาฝากค้ะ
...
ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ปาสคาล บาร์เบอร์เกอร์-กาโต แห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันวิจัยการแพทย์ เมืองบอโดซ์ ฝรั่งเศสทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิงที่มีสุขภาพดี 8,000 คน อายุ 65 ปีขึ้นไป
ผลการศึกษาพบว่า อาหารที่มีไขมันชนิดโอเมกา-3 สูง เช่น ปลาทะเล น้ำมันคาโนลา ฯลฯ ช่วยลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมได้
...
เมื่อทำการวิเคราะห์เจาะลึกลงไปพบข่าวดีคือ
การกินปลาทะเลสัปดาห์ละ 1 ครั้งขึ้นไป > ลดความเสี่ยงได้ 40%
การกินผักผลไม้วันละ 1 ครั้งขึ้นไป > ลดความเสี่ยงได้ 30%
...
ทีนี้ข่าวดีย่อมมาคู่กับข่าวร้าย... ข่าวร้ายคือ การกินน้ำมันพืชที่มีสารโอเมกา-6 สูง เช่น น้ำมันทานตะวัน ฯลฯ เพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมเป็น 2 เท่า
น้ำมันที่คนไทยใช้ประมาณ 70% เป็นน้ำมันปาล์ม ที่เหลือเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันหมู น้ำมันรำข้าว และน้ำมันพืชอื่นๆ ปนกัน
...
วิธีเลือกน้ำมันง่ายๆ มีดังต่อไปนี้
หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างโคเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดชนิดเลว (LDL) เพิ่มขึ้นได้แก่ น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันปาล์ม น้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ฯลฯ
หลีกเลี่ยงน้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมกา-6 สูง เช่น น้ำมันทานตะวัน ฯลฯ
ใช้น้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันถั่วเหลืองแทน หรือถ้ามีฐานะดีหน่อย... ควรเลือกใช้น้ำมันมะกอกหรือคาโนลา
กินปลาทะเลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ซึ่งควรเน้นปลาที่ไม่ผ่านการทอด เนื่องจากถ้าทอดจะทำให้น้ำมันปลาซึมออก น้ำมันที่ทอดซึมเข้า ทำให้ได้น้ำมันที่ทอดแทนน้ำมันปลา
...
การศึกษานี้บ่งชี้อะไรบางอย่างเหมือนกันคือ แม้แต่เมล็ดทานตะวันก็ไม่ควรกินบ่อย เนื่องจากเมล็ดพืชมีน้ำมันพืชปนอยู่หลายสิบเปอร์เซ็นต์
อาจารย์ซูซาน โซเรนเซอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย แห่งสมาคมสมองเสื่อมอัลไซเมอร์กล่าวว่า อาหารที่มีส่วนช่วยป้องกันสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้แก่ อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน
...
อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนมีลักษณะสำคัญได้แก่ เนื้อน้อย หนักไปทางผัก ผลไม้ ปลาทะเล น้ำมันมะกอก และธัญพืชไม่ขัดสี(ขนมปังโฮลวีท หรือข้าวสาลีไม่ขัดสี)
อาหารไทยเราไม่มีน้ำมันมะกอก ทว่า... มีน้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (monounsaturated fatty acid / MUFA) ค่อนข้างสูงคล้ายๆ กันคือ น้ำมันรำข้าว น้ำมันอีกอย่างที่มีคุณสมบัติคล้ายกันคือ น้ำมันถั่วลิสง (มีจำหน่ายในพม่า)
...
ถ้าเราต้องการปรับอาหารไทยให้เป็นอาหารสุขภาพคล้ายๆ อาหารเมดิเตอร์เรเนียนที่ดีกับสุขภาพมาก... เราคงต้องปรับเปลี่ยนดังต่อไปนี้
เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง
กินผักครึ่งหนึ่ง-อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง (ผลไม้ท้งผล ไม่ใช่น้ำผลไม้ + ปลา) แบบที่กรมอนามัยแนะนำ
กินผัก-น้ำพริกอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
เปลี่ยนน้ำมันไปใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา หรือน้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันถั่วเหลือง และกินอาหารทอดไม่เกินวันละ 1 มื้อ
...
และอย่าลืมออกกำลังอย่างน้อยเทียบเท่าการเดินเร็ววันละ 30 นาที หรือเพิ่มเป็น 60 นาทีถ้าอ้วน หรืออ้วนลงพุง (เส้นรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตรในผู้ชาย หรือ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง)
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ค่ะ
ที่มา
Thank BBC > Heathy diet 'cuts dementia risk' > [ Click ] > November 13, 2007. / J Neurology.
ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 15 พฤศจิกายน 2550.
วันนี้มีข่าวเกี่ยวกับอาหารที่เพิ่ม และลดความเสี่ยงสมองเสื่อมอัลไซเมอร์มาฝากค้ะ
...
ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ปาสคาล บาร์เบอร์เกอร์-กาโต แห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันวิจัยการแพทย์ เมืองบอโดซ์ ฝรั่งเศสทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิงที่มีสุขภาพดี 8,000 คน อายุ 65 ปีขึ้นไป
ผลการศึกษาพบว่า อาหารที่มีไขมันชนิดโอเมกา-3 สูง เช่น ปลาทะเล น้ำมันคาโนลา ฯลฯ ช่วยลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมได้
...
เมื่อทำการวิเคราะห์เจาะลึกลงไปพบข่าวดีคือ
การกินปลาทะเลสัปดาห์ละ 1 ครั้งขึ้นไป > ลดความเสี่ยงได้ 40%
การกินผักผลไม้วันละ 1 ครั้งขึ้นไป > ลดความเสี่ยงได้ 30%
...
ทีนี้ข่าวดีย่อมมาคู่กับข่าวร้าย... ข่าวร้ายคือ การกินน้ำมันพืชที่มีสารโอเมกา-6 สูง เช่น น้ำมันทานตะวัน ฯลฯ เพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมเป็น 2 เท่า
น้ำมันที่คนไทยใช้ประมาณ 70% เป็นน้ำมันปาล์ม ที่เหลือเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันหมู น้ำมันรำข้าว และน้ำมันพืชอื่นๆ ปนกัน
...
วิธีเลือกน้ำมันง่ายๆ มีดังต่อไปนี้
หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างโคเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดชนิดเลว (LDL) เพิ่มขึ้นได้แก่ น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันปาล์ม น้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ฯลฯ
หลีกเลี่ยงน้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมกา-6 สูง เช่น น้ำมันทานตะวัน ฯลฯ
ใช้น้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันถั่วเหลืองแทน หรือถ้ามีฐานะดีหน่อย... ควรเลือกใช้น้ำมันมะกอกหรือคาโนลา
กินปลาทะเลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ซึ่งควรเน้นปลาที่ไม่ผ่านการทอด เนื่องจากถ้าทอดจะทำให้น้ำมันปลาซึมออก น้ำมันที่ทอดซึมเข้า ทำให้ได้น้ำมันที่ทอดแทนน้ำมันปลา
...
การศึกษานี้บ่งชี้อะไรบางอย่างเหมือนกันคือ แม้แต่เมล็ดทานตะวันก็ไม่ควรกินบ่อย เนื่องจากเมล็ดพืชมีน้ำมันพืชปนอยู่หลายสิบเปอร์เซ็นต์
อาจารย์ซูซาน โซเรนเซอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย แห่งสมาคมสมองเสื่อมอัลไซเมอร์กล่าวว่า อาหารที่มีส่วนช่วยป้องกันสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้แก่ อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน
...
อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนมีลักษณะสำคัญได้แก่ เนื้อน้อย หนักไปทางผัก ผลไม้ ปลาทะเล น้ำมันมะกอก และธัญพืชไม่ขัดสี(ขนมปังโฮลวีท หรือข้าวสาลีไม่ขัดสี)
อาหารไทยเราไม่มีน้ำมันมะกอก ทว่า... มีน้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (monounsaturated fatty acid / MUFA) ค่อนข้างสูงคล้ายๆ กันคือ น้ำมันรำข้าว น้ำมันอีกอย่างที่มีคุณสมบัติคล้ายกันคือ น้ำมันถั่วลิสง (มีจำหน่ายในพม่า)
...
ถ้าเราต้องการปรับอาหารไทยให้เป็นอาหารสุขภาพคล้ายๆ อาหารเมดิเตอร์เรเนียนที่ดีกับสุขภาพมาก... เราคงต้องปรับเปลี่ยนดังต่อไปนี้
เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง
กินผักครึ่งหนึ่ง-อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง (ผลไม้ท้งผล ไม่ใช่น้ำผลไม้ + ปลา) แบบที่กรมอนามัยแนะนำ
กินผัก-น้ำพริกอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
เปลี่ยนน้ำมันไปใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา หรือน้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันถั่วเหลือง และกินอาหารทอดไม่เกินวันละ 1 มื้อ
...
และอย่าลืมออกกำลังอย่างน้อยเทียบเท่าการเดินเร็ววันละ 30 นาที หรือเพิ่มเป็น 60 นาทีถ้าอ้วน หรืออ้วนลงพุง (เส้นรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตรในผู้ชาย หรือ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง)
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ค่ะ
ที่มา
Thank BBC > Heathy diet 'cuts dementia risk' > [ Click ] > November 13, 2007. / J Neurology.
ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 15 พฤศจิกายน 2550.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น