วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส

รับเลือกตั้ง 6 เมษายน พ.ศ. 2550
พรรคการเมือง UDR (2517)
UMP (2545)
สาธารณรัฐ สาธารณรัฐที่ 5
รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรี ฟรองซัวส์ ฟียง
สมัยก่อนหน้า ฌาคส์ ชีรัค
นิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) [nikɔla saʁkɔzi] (ข้อมูล) (28 มกราคม พ.ศ. 2498 — ) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ ผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา คนปัจจุบัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม กระทรวงงบประมาณและนายกเทศมนตรีเนยยี-ซูร์-แซน
เขาเป็นที่รู้จักดีจากทัศนคติในด้านกฎหมายและคำสั่งของเขา รวมถึงความต้องการให้ เศรษฐกิจ ของประเทศฝรั่งเศส กลับคืนสู่สภาพเดิม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาและยังได้กระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศอื่นๆ อีกด้วย ชื่อเล่นที่ผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่างเรียกแทนตัวเขาคือ "ซาร์โก" (Sarko)


ภูมิหลังครอบครัว
ประวัติตระกูล
นิโกลาส์ ซาร์โกซี เป็นลูกชายของ ปาล ชาร์เคอซี เดอ นาดญ์-โบทชา (Pál Sárközy de Nagy-Bócsa) ชาวฮังการี ที่อพยพมา กับ อองเดร มัลละห์ (Andrée Mallah) หญิง ชาวฝรั่งเศส ชาว นิกายคาทอลิก เชื้อสายกรีก-เซพาร์ดิกยิว ตาของเขาเป็น ชาวกรีก ชื่อ 'เบนิโก มัลละห์' (ชื่อเดิม อารอน มัลละห์) ลูกชายของมอร์เดไค มัลละห์ (Mordechai Mallah) ซึ่งเบนิโกเป็นอายุรแพทย์จากเทสซาโลนิกิ ที่อพยพมาประกอบอาชีพที่ ประเทศฝรั่งเศส


อยู่ในวาระ ฟรองซัวส์ ฟียงตั้งแต่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

สถานที่พัก Hôtel Matignon

ผู้แต่งตั้ง นิโกลาส์ ซาร์โกซี
ก่อตั้ง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501

เว็บไซต์ http://www.premier-ministre.gouv.fr/



นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (Premier ministre français) เป็นตำแหน่งหัวหน้า รัฐบาล และ คณะรัฐมนตรี ของประเทศฝรั่งเศส ส่วนประมุขแห่งรัฐของ ประเทศฝรั่งเศส คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศสคือ ฟรองซัวส์ ฟียง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550





การตัดสินใจหรือกฤษฎีกาของนายกรัฐมนตรี เสมือนกับการตัดสินใจทั้งหมดของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่สอดส่องดูแลระบบสภาในหน่วยการบริหารทั่วประเทศ (Conseil d'État) บางครั้งนายกรัฐมนตรีได้รับคำปรึกษาจากสภาก่อนจะประกาศใช้กฤษฎีกา





เป็นที่รู้กันว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านต้องการปกป้องนโยบายและโครงการในกระทรวงของตน แต่ก็ยังติดอยู่ที่งบประมาณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีนี้เองเป็นคนชี้ขาดในเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งประธานาธิบดีจะมีนาจและอิทธิพลเหนือกว่าก็ตาม
เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลนโยบายของรัฐบาล เมื่อเกิดความผิดพลาดและล้มเหลวก็จะกลายเป็นคนที่ถูกประณามและตำหนิไปโดยปริยาย ผลที่ตามมาก็คือความนิยมที่มีสูงในช่วงแรกและลดฮวบลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนคิดว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการส่งเสริมความสำเร็จของประธานาธิบดี และยังเป็นที่โต้เถียงอย่างมากว่าเป็นตำแหน่งที่อันตรายเพราะความเป็นไปได้ของการลดความนิยม


การเสนอชื่อ
นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส และเนื่องจากรัฐสภาสามารถลงมติไม่ไว้วางใจได้ ผลที่ตามมาคือการกดดันให้รัฐบาลลาออก ทำให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนมากของสภาแห่งชาติอีกด้วย

โอเต็ล มาติญง
เมื่อประธานาธิบดีและเสียงส่วนมากของสภาแห่งชาติอยู่ตรงข้ามกันในทางการเมืองจะเรียกว่า การบริหารร่วมกัน (Cohabitation) ซึ่งหมายความว่าประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันหรือประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมาจากต่างพรรคและต่างขั้ว นายกรัฐมนตรียังเป็นคนเสนอชื่อรัฐมนตรีคนอื่นๆ ในคณะรัฐมนตรีให้แก่ประธานาธิบดีด้วย




สถานที่พักอย่างเป็นทางการ
โอเต็ล มาติญง (Hôtel Matignon) ตั้งอยู่บนเขต 7 ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส





นายกรัฐมนตรีผู้หญิงคนเดียวในประเทศฝรั่งเศส : เอดิต เครซซง





นายกรัฐมนตรีสองสมัย : ฌากส์ ชีรัก (คนที่ 6 และ 10 ในสมัย สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5)





นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลที่มีการการบริหารร่วมกัน (Cohabitation) : ฌากส์ ชีรัก, เอดูอาร์ด บัลลาดูร์, ลีโอเนล โฌส์แปง
นายกรัฐมนตรีที่ไปเป็นรัฐมนตรีในภายหลัง :
มิแชล เดอเบร (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (รัฐบาลจอร์จ ปอมปิดู 3 และ 5), รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (รัฐบาลจอร์จ ปอมปิดู 5 และโมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์), รัฐมนตรีแห่งรัฐ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลฌากส์ ชาบอง-เดลมาส์และปีแอร์ เมสแมร์ 1))
โลรองต์ ฟาบิอูส์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม (รัฐบาลลีโอเนล โฌส์แปง)
อแลง ฌูป์เป (รัฐมนตรีแห่งรัฐ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม (รัฐบาลฟรองซัวส์ ฟียง 1)
ประธานสภาแห่งชาติฝรั่งเศส (Président de l'Assemblée Nationale)
ฌากส์ ชาบอง-เดลมาส์ : พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2512, พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531
โลรองต์ ฟาบิอูส์ : พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543
เลือกตั้งเข้าไปในราชบัณฑิตยสถานฝรั่งเศส (l'Académie Française)
มิแชล เดอเบร : 24 มีนาคม พ.ศ. 2531
ปีแอร์ เมสแมร์ : 25 มีนาคม พ.ศ. 2542
คณะกรรมาธิการยุโรป (Commissaire Européen)
เอดิต เครซซง : พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542
อายุเมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุด : โลรองต์ ฟาบิอูส์ (37 ปี), ฌากส์ ชีรัก (41 ปี), มิแชล เดอเบร (47 ปี), อแลง ฌูป์เป (49 ปี)
นายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุด: ปีแอร์ เบเรโกวัว (66 ปี), เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ (64 ปี), โมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์ (61 ปี)

ชาร์ลส์-โมริส เดอ ตาลลีร็องด์-เปรีโกร์ด นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศฝรั่งเศส
ระยะเวลาในโอเต็ล มาติญง
ระยะเวลาที่อยู่ใน โอเต็ล มาติญง (Hôtel Matignon) นานที่สุด :
จอร์จ ปอมปิดู : 2,279 วัน หรือ 6 ปี 2 เดือน 26 วัน
ลีโอเนล โฌส์แปง : 1,799 วัน หรือ 4 ปี 11 เดือน 4 วัน
เรย์มงด์ บาร์ : 1,727 วัน หรือ 4 ปี 8 เดือน 23 วัน
ฌากส์ ชีรัก : 1,602 วัน (สองสมัย 820 วัน และ 782 วัน) หรือ 4 ปี 4 เดือน 19 วัน
ระยะเวลาที่อยู่ในโอเต็ล มาติญง (Hôtel Matignon) สั้นที่สุด :
เอดิต เครซซง : 321 วัน หรือ 10 เดือน 16 วัน
โมริส กูฟ เดอ มูร์วิลล์ : 341 วัน หรือ 11 เดือน 6 วัน
ปีแอร์ เบเรโกวัว : 360 วัน หรือ 11 เดือน 26 วัน









จำนวนนายกรัฐมนตรีต่อประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ฟรองซัวส์ มิแตรรองด์ : นายกรัฐมนตรี 7 คน (14 ปี)
ฌากส์ ชีรัก : นายกรัฐมนตรี 4 คน (12 ปี)
ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ : นายกรัฐมนตรี 3 คน (10 ปี 4 เดือน)
วาเลรี ยิสการ์ด เดส์แตง : นายกรัฐมนตรี 2 คน (7 ปี)
จอร์จ ปอมปิดู : นายกรัฐมนตรี 2 คน (5 ปี)
นิโกลาส์ ซาร์โกซี : นายกรัฐมนตรี 1 คน (ยังคงดำรงตำแหน่ง)
นายกรัฐมนตรีที่เคยลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี













การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2512
จอร์จ ปอมปิดู ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส 1 ปีหลังจากการออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี





มิแชล โรการ์ด ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 4 ในการเลือกตั้งรอบแรก - 19 ปีก่อนการเป็นนายกรัฐมนตรี





การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2517
ฌากส์ ชาบอง-เดลมาส์ ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก





การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2524
ฌากส์ ชีรัก ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก
มิแชล เดอเบร ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 8 ในการเลือกตั้งรอบแรก
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2531
ฌากส์ ชีรัก ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้งรอบแรกและรอบสอง ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี





เรมงด์ บาร์ ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก





การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2538
ฌากส์ ชีรัก ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้งรอบแรกและชนะในการเลือกตั้งรอบสอง เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส - 19 และ 7 ปี หลังจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลีโอเนล โฌส์แปง ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 1 ในการเลือกตั้งรอบแรกและลำดับที่ 2 ในการเลือกตั้งรอบสอง - 2 ปีก่อนการเป็นนายกรัฐมนตรี





เอดูอาร์ด บัลลาดูร์ ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2545





ฌากส์ ชีรัก ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ลีโอเนล โฌส์แปง ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 ในการเลือกตั้งรอบแรก ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น