วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ท้องอืด.... อาหารไม่ย่อย

ถาม. ลักษณะอาการท้องอืด มีลักษณะอาการอย่างไร
ตอบ. ได้แก่ อาการ ที่มีการปวดท้องส่วนบน ท้องอืด แน่นท้อง มีลมในท้อง ต้องเรอบ่อยๆ บางคนอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็ว หรือบางคนอาจจะมีอาการแน่นท้อง แม้กินอาหารเพียงเล็กน้อย แสบบริเวณหน้าอก

ถาม. สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด เกิดจากสาเหตุอะไร
ตอบ. สาเหตุอาจจะเกิดจากหลายอย่างด้วยกัน
1. โรคในระบบทางเดินอาหารเอง ได้แก่ โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ มะเร็งกระเพาะอาหาร พยาธิในทางเดินอาหาร เป็นต้น
2. โรคที่เกิดจากสิ่งภายนอก ได้แก่ ยาต่าง ๆ ที่เรารับประทาน ยาหลายชนิดจะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ ได้แก่ ยาแก้ปวดข้อทั้งหลาย ยาบางชนิด จะทำให้กระเพาะ และลำไส้บีบตัวน้อยลง เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาปฏิชีวนะบางอย่าง เครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอลเป็นส่วนผสม เช่น เหล้า เบียร์ จะทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ บุหรี่ อาหารที่ย่อยยากหลายอย่าง รวมทั้งอาหารที่มีกากมาก ๆ อาหารรสจัด
3. โรคของทางเดินน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี
4. โรคของตับอ่อน
5. โรคทางร่างกายอย่างอื่น ๆ เช่น เบาหวาน โรคต่อมไทรอยดพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร มีส่วนเกี่ยวข้อกับอาหารท้องอืด

ถาม. พฤติกรรมในการรับประทานอาหารมีส่วนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องอืดหรือไม่
ตอบ. พฤติกรรม ในการรับประทานอาหาร มีส่วนด้วยอย่างแน่นอน เช่น การรับประทานอาหารรสจัด จะทำให้เยื่อบุอาหารอักเสบ การรับประทานอาหารรีบร้อน เคี้ยวไม่ละเอียด รับประทานครั้งละมากไป รวมทั้งรับ ระทานอาหารย่อยยาก รับประทานอาหารมัน
อาหารประเภทผักจะมีเส้นใยปริมาณมาก ร่างกายเราไม่มีน้ำย่อยที่จะทำการย่อย เส้นใยเหล่านั้น แบคทีเรียในลำไส้จะเป็นตัวช่วยย่อยทำให้เกิดมีกรดบางอย่างนั้น อาจจะทำให้ท้องอืดได้ ถ้ารับประทานมากไป แต่อาหารที่มีเส้นใยมากก็จะมีประโยชน์ในเรื่องของการขับถ่ายจะทำให้ขับถ่ายสะดวก อาหารประเภทนม ในคนแถบเอเชียจะไม่มีน้ำย่อยที่ย่อยนม หรือมีปริมาณน้อย เมื่อรับประทานจะทำให้มีอาหารท้องอืด หรือท้องเสีย ได้ถ้ารับประทานมาก

ถาม. คนที่ท้องอืดบ่อยๆ ถือว่ามีความผิดปกติหรือไม่
ตอบ. อาการท้องอืดถ้านาน ๆ เป็นครั้งคราวจะไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นบ่อย ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาหารท้องอืด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะอาการท้องอืด เป็นอาการนำอันหนึ่งของมะเร็ง ในช่องท้อง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน เพิ่มจะมีอาการท้องอืด ในช่วงเวลาสั้น ๆ รวมถึงถ้ามีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เมื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด ซีด ควรจะรีบพบแพทย์ เพราะอาจจะเป็นอาการนำของมะเร็ง กระเพาะอาหารได้

ถาม. ปัญหาที่พบบ่อย ในคนที่มีอาการท้องอืดบ่อยๆ
ตอบ. ปัญหาที่พบบ่อย ในคนที่ท้องอืด ได้แก่ โรคกระเพาะอาจจะเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ อาจจะเป็น โรคของทางเดินน้ำดี เช่น เป็นนิ่วในถุงน้ำดี หรืออาจจะเป็นจากอาหารที่เรารับประทาน

ถาม. เมื่อมีอาการท้องอืด เบื้องต้นมีวิธีแก้ไขอย่างไร
ตอบ. การแก้ไขเบื้องต้น อาจจะใช้ยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยาขับลม หรือ ยาธาตุน้ำแดง ลองรับประทานดูก่อน ปรับอาหารให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย รับประทานแต่พอควรไม่ให้มาก ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์

ถาม. การรับประทาน ยาช่วยย่อยที่มีขายตามร้าน ขายยาทั่วไปมีผลอย่างไรต่อร่างกายหรือไม่ในกรณี ใช้เป็นประจำ
ตอบ. การรับประทานยาช่วยย่อย อาจจะช่วยอาการท้องอืดได้บ้าง แต่ถ้าต้องรับประทานทุกวัน คงจะไม่ถูกต้องเพราะเราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ของอาการท้องอืดและไม่ได้รับการแก้ไขสาเหตุที่แท้จริง อาจจะนำให้ โรคเป็นมากขึ้นได้

ถาม. เมื่อใดควรไปพบแพทย์
ตอบ. ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรจะไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้แก่
1. ในคนสูงอายุ เช่น อายุเกิน 40 ปี เพิ่งจะเริ่มมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เนื่องจาก พบว่ามะเร็งของกระเพาะอาหาร หรือตับมักจะพบในคนอายุเกินกว่า 40 ปี
2. ในคนที่มีอาการท้องอืดร่วมกับมีน้ำหนักลด
3. มีอาการซีด ถ่ายอุจจาระดำ
4. มีอาเจียนติดต่อกัน หรือกลืนอาหารไม่ได้
5. ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีก้อนในท้อง
6. ปวดท้องมาก
7. ท้องอืดแน่นท้องมาก
8. การขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไป

ถาม. การรักษาในปัจจุบัน
ตอบ. ถ้าในคนอายุน้อยไม่ได้มีข้อบ่งชี้ว่า เป็นโรคที่อันตรายแพทย์ อาจจะให้ยามารับประทาน และแนะนำวิธีปฏิบัติตัว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และนัดมาพบเพื่อดูอาการ ถ้าไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจะดำเนินการ สืบค้นหาสาเหตุ ถ้าเป็นในกรณีที่กล่าวข้างต้น ถึงอาการต่างๆ แพทย์คงจะต้องทำการตรวจสืบค้นหาสาเหตุ และรักษาไปตามต้นเหตุ

ถาม. ข้อแนะนำ และการปฏิบัติตัวในผู้ที่มีอาการท้องอืดและการป้องกัน
ตอบ. ไม่ควรดื่มสุรา หรือ แอลกอฮอลล์ อาหารรสจัด อาหารหมักดอง บุหรี่ น้ำชา กาแฟ
ผู้ที่ดื่มนมแล้วมีอาการท้องอืด หรือท้องเสีย อาจจะขาดน้ำย่อย ใช้ย่อยนม ซึ่งได้แก่การเปลี่ยนแปลงในการกินอยู่และการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรรับประทานอาหารประเภทผักที่มีเส้นใยมากๆ ถ้ารับประทานอาหารมากไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดเกินขึ้นได้ เพราะเส้นใยอาหารหรือกากใยอากรร่างกายเราย่อยไม่ได้ต้องอาศัยแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่เป้นตัวช่วยย่อยสลาย แต่อย่างไรก็ตามอาหารประเภทผัก ก็มีประโยชน์ เพราะทำให้การขับถ่ายสะดวก สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารควรรับประทานอาหารครั้งละมากๆ แต่ควรจะมีอาหารว่างระหว่างมื้อ รับประทานอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียดไม่ควรรีบร้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น