วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2504 มีภารกิจเบื้องต้นในการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานให้แก่นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยก่อนจะเลือกเข้าศึกษาแขวงวิชาเฉพาะด้านสำหรับคณะตน
คณะศิลปศาสตร์ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ตาม พระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 78 ตอนที่ 106 วันที่ 19 ธันวาคม 2504 โดยให้เหตุผลในการประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า "เพื่อให้นักศึกษาชั้นปริญญาตรีมีความรู้ภาษาต่างประเทศและความรู้ทั่วไปในด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ให้สูงเพียงพอก่อนที่จะเข้าศึกษาแขนงวิชาเฉพาะด้าน ซึ่งจัดสอนอยู่ในคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ( ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 78 ตอนที่ 106 วันที่ 19 ธันวาคม 2504 )
การจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ในครั้งนั้นมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ
1.เพื่อจัดสอนวิชาความรู้พื้นฐานทั่วไปทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์แก่นักศึกษาชั้นปริญญาตรีทุกคนของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวางในสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติและสังคม ตลอดจนมีความเข้าใจในเรื่องจิตใจมนุษย์ เห็นความต่อเนื่องของวิทยาการแขนงต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดวิจารณาญาณอันดี สามารถนำความรู้เฉพาะด้านในแขนงที่ตนศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมให้ ดียิ่งขึ้น
2.เพื่อเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาสาขาต่างๆทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่ยังมิได้มีการจัดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือที่มีการจัดสอนแล้วแต่ยังไม่ถึงขึ้นประสาทปริญญา
ฟฟฟฟฟจึงอาจกล่าวได้ว่าคณะศิลปศาสตร์มีปรัชญาการกำเนิดจากหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไป และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คณะศิลปศาสตร์ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2505 โดยกำหนดให้นักศึกษาที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกคนต้องศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ ก่อนใน 2 ปีแรก โดยศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ก่อนเข้าศึกษาในแขนงวิชาเฉพาะด้านในชั้นปีที่ 3 ซึ่งจัดสอนอยู่ในคณะต่างๆ ในขณะนั้นคือ แขนงวิชานิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และบัญชี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ฟฟฟฟฟนอกจากการเปิดสอนหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปในปี พ.ศ. 2505 แล้วคณะศิลปศาสตร์ยังได้ปิดสอนระดับปริญญาตรีโดยได้ผลิตบัณฑิตรุ่นแรกของคณะศิลปศาสตร์ในปี พ.ศ. 2508 จำนวน 71 คน จากสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้
1. สาขาคณิตศาสตร์ 2. สาขาบรรณารักษศาสตร์ 3. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ 4. สาขาวิชาภาษาศาสตร์ 5. สาขาวิชาสถิติ
aaaaaต่อมา คณะศิลปศาสตร์ได้มีการเปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาต่างๆเพิ่มขึ้นตามลำดับดังนี้
สาขาวิชา
ปีที่เปิดสอน 1. จิตวิทยา 2507 2. ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ 2509 3. ภาษาอังกฤษ 2513 4. ภาษาญี่ปุ่น 2514 5. ปรัชญา 2514 6. ภูมิศาสตร์ 2514 7. ภาษาเยอรมัน 2514 8. ภาษาฝรั่งเศส 2514 9. ภาษาไทย 2515 10. ภาษาจีน 2515 11. ภาษารัสเซีย 2518 12. การละคอน ปัจจุบันสาขาวิชาการละคอนได้โอนไปอยู่ในความรับผิดชอบของ โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร ์ 13. ศาสนา 2525
อนึ่ง คณะศิลปศาสตร์ยังได้เปิดสอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาเลือก และในปี พ.ศ. 2529 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ได้โอนไปสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและดำเนิน การเรียนการสอน ณ ศูนย์รังสิต
สำหรับในระดับบัณฑิตศึกษานั้น คณะศิลปศาสตร์ได้เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 จำนวน 2 หลักสูตร คือ 1.หลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาภาษาศาสตร์ (ภาษาไทย) 2.สาขาวิชาประวัติศาสตร์ และต่อมาได้มีการเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นดังนี้
สาขาวิชา
ปี่ที่เปิดสอน 1. บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ 2529 2. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ในปี 2543 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นโครงการพิเศษ (เลี้ยงตัวเอง) 2532 3. ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการแปล ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2532 4. ประกาศนียบัตรบัณฑิตการแปลภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส ( ปัจจุบันได้ปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการแปลภาษาไทยและ ภาษาฝรั่งเศสและเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการแปลภาษาฝรั่งเศส-ไทยแทน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 ) 2532 5. ฝรั่งเศสศึกษา 2536 6. จิตวิทยาการปรึกษา 2539 7. ญี่ปุ่นศึกษา 2540 8. พุทธศาสนศึกษา 2540 9. ภาษาไทย 2543 10. ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ 2543

[แก้] สาขาวิชา
ปัจจุบันคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการสอนหลากหลายสาขาวิชา ประกอบไปด้วย 14 สาขาวิชา 4 โครงการพิเศษ ดังนี้ หลักสูตรปริญญาตรี
กลุ่มวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สถิติ จิตวิทยา ภูมิศาสตร์ (ปัจจุบันมีสอนเฉพาะภูมิศาสตร์ และจิตวิทยา)
กลุ่มภาษา ได้แก่ ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย และภาษาและวรรณคดีอังกฤษ
สาขาปรัชญาและศาสนา
สาขาประวัติศาสตร์
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
โครงการอังกฤษและอเมริกันศึกษา หลักสูตรนานาชาติ (British & American Studies)
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
โครงการรัสเซียศึกษา
โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ (Business English Communication) หรือ BEC
หลักสูตรสาขาวิชาโทศาสนา ภาควิชาปรัชญา
หลักสูตรสาขาวิชาโทสเปนและละตินอเมริกันศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์
หลักสูตรปริญญาโทใน 12 สาขาวิชาคือ
1. สาขาวิชาภาษาไทย
2. สาขาวิชภาษาและวรรณคดีอังกฤษ
3. สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา
4. สาขาวิชาการแปลภาษาฝรั่งเศส-ไทย
5. สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา
6. สาขาวิชาประวัติศาสตร์
7. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
8. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร
9. สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร
10. สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา
11. สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
12. สาขาวิชาการแปลภาษาอังกฤษ-ไทย
หลักสูตรปริญญาเอกใน 1 สาขาวิชาคือ
1. สาขาวิชาภาษาศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์แบ่งกลุ่มนักศึกษาหรือที่เรียกว่า"โต๊ะ"ออกเป็น 6 กลุ่ม ตามสัญลักษณ์ของคณะศิลปศาสตร์ ดังนี้ 1. จิ๊งหน่อง 2. ลานโพธิ์ 3. สวนศิลป์ 4. จอว์ 5. ลายสือ 6. น้ำพุ เพื่อสะดวกในการให้คำแนะนำหรือให้ปรึกษา การทำกิจกรรมก่อให้เกิดความคุ้นเคยสนิทสนมกลมเกลียวกันระหว่าง"เพื่อนใหม่" ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยที่ผู้ที่เข้ามาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีความเท่าเทียมกัน ไม่มีรุ่นพี่รุ่นน้อง เราคือเพื่อนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น